วันอังคาร, พฤษภาคม 13, 2025
หน้าแรกHighlightครม.อนุมัติG Tokenบริหารหนี้สาธารณะ นำร่อง5,000ล้านบ.วางฐานการเงินดิจิทัล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.อนุมัติG Tokenบริหารหนี้สาธารณะ นำร่อง5,000ล้านบ.วางฐานการเงินดิจิทัล

ครม.อนุมัติในหลักการ วิธีการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ

เมื่อวันที่ 13 พ.ค.68 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (13 พ.ค.) เห็นชอบวิธีการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะตามที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลังเสนอ โดยการออกสินทรัพย์ดิจิทัลโทเคน (Token) เป็น G Token ภายใต้ชื่อ “Thailand Digital Token” ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการลงทุนพันธบัตรของประชาชน 

โดยในแต่ละปีนั้น สบน.ต้องมีการออกพันธบัตรกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณอยู่เป็นประจำ แต่ว่าเมื่อมีการอนุมัติให้มีการระดมทุนโดยให้มีการออกโทเคนได้ก็จะทำให้ประชาชนรายย่อยสามารถซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้ง่ายขึ้นและได้ผลตอบแทนดีกว่า และสม่ำเสมอกว่า โดยเป็น การลงทุนระยะยาวและสม่ำ โดยประชาชนสามารถซื้อหลักพัน หรือหลักร้อยก็ได้

นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินดิจิทัลของประเทศ ซึ่งจะช่วยวางรากฐานการเงินดิจิทัลของประเทศ ได้ด้วย 

สำกรับวงเงินที่จะมีการออกเป็นพันธบัตร G Token นี้เราคงต้องดูขนาดาี่เหมาะสมเพราะปกตินั้นการออกพันธบัตรนั้นออกหลายหมื่นล้าน อาจจะนำร่องที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเราก็มองว่าเป็นจำนวนเงินที่เหมาะสมในการทดลองก่อนที่จะขยายผลโดยคาดว่าจะสามารถออกมาจำหน่ายให้กับประชาชนได้ภายใน 2-3 เดือนนี้

ขณะที่นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติวิธีการกู้เงินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) และอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้และการนําไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกัน เงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบฯ 2568 และให้ กค. เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น

กค. มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกู้เงินในรูปแบบโทเคนดิจิทัล เพื่อชดเชยการขาดดุลงบฯ รายจ่ายประจำปีงบฯ 2568 ประกอบกับพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้ ครม. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติวิธีการกู้เงินของ กค. ซึ่งการออกโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล (Government Token: G-Token) เป็นการนำนวัตกรรมทางการเงินเกี่ยวกับการระดมทุนรูปแบบใหม่มาประยุกต์ใช้กับการกู้เงินของ กค. และ กค. ได้ดำเนินการยกร่างประกาศ ก.ค. เรื่อง การกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกโทเคนดิจิทัล พ.ศ. ….ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการให้อำนาจ กค. ออกโทเคนดิจิทัลโดยวงเงินกู้ตามกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบฯ ด้วยวิธีการเสนอขายให้แก่ผู้มีสิทธิ์ซื้อโดยตรงผ่านผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล
1.กำหนดให้ กค. ออกโทเคนดิจิทัล โดยวงเงินกู้ตามกรอบการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบฯ
2.กำหนดให้ กค. อาจมอบหมายให้ผู้เกี่ยวข้องเป็นตัวแทนของ กค. ในการดำเนินการด้านต่างๆ
3.กำหนดให้ กค. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลให้แก่ผู้มีสิทธิ์ซื้อโดยตรง ตลอดจนความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสนอขายโทเคนดิจิทัลนั้น
4.กำหนดให้ กค. กำหนดหลักเกณฑ์การชำระดอกเบี้ยและการใช้เงินตามโทเคนดิจิทัล โดยให้ กค. หรือนิติบุคคลอื่นใดที่ กค. มอบหมาย โอนเงินให้แก่ผู้ถือโทเคนดิจิทัลหรือผู้รับตามที่นายทะเบียนกำหนด ทั้งนี้ ตามที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน
5.กำหนดให้การโอนโทเคนดิจิทัลให้มีผลสมบูรณ์เมื่อผู้โอนนั้นได้บันทึกการรับโอนโทเคนดิจิทัลเข้าไปในบัญชีของผู้รับโอนแล้ว


กค. ได้ขอความเห็น สนง. ก.ล.ต. โดย สนง. ก.ล.ต. เห็ฯว่า หาก กค. พิจารณาได้ว่าการกู้เงินโดยวิธีการออก G-Token ไม่ใช่การออกตราสารหนี้ ซึ่งไม่เป็น “หลักทรัพย์” ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 แล้วก็สามารถดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และเข้าข่ายเป็นโทเคนดิจิทัลแห่ง พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งต้องเป็นไปตาม พ.ร.ก. ดังกล่าวและกฎเกณฑ์ที่ออกโดย คกก. ก.ล.ต. และ สนง. ก.ล.ต.

ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img