โบรกมองหุ้นไทยสัปดาห์หน้าเสี่ยงปรับฐาน หลังโอไมครอนระบาดหนักใน 40 ประเทศทั่วโลก- ไทยพบผู้ติดเชื้อรายแรก มองดาวน์ไซด์ปรับลงรอบนี้ไม่น่าหลุด 1,540 จุด แนะปรับพอร์ตถือเงินสด 25-35%
นายฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.เอ เซียพลัส เปิดเผยว่าตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ( 7-9 ธ.ค.) รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่นยังผันผวนต่อเนื่อง จากสัปดาห์ก่อนหน้าเป็นผลมาจาก โควิดสายพันธุ์ Omicron ที่แพร่ระบาดไปแล้ว 40 ประเทศทั่วโลก แม้จะยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แต่แพร่กระจายเร็วกว่าพันธ์อื่น
รวมถึงปัญหาหนี้ของ Evergrande บริษัทอสัง หาริมทรัพย์อันดับ 2 ของจีน ที่ประกาศล่าสุดจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้ความกังวลจะ impact ต่อเศรษฐกิจจีนกลับมาและกดดันค่าเงินหยวนอ่อนค่า
นอกจากนี้มีแรงกดดันจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐยังมีอยู่ หลังตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐที่ออกมาเมื่อวันศุกร์ ลดลงอยู่ที่ 4.2% และความเห็นของประธาน Fed ที่ส่งสัญญาณการประชุมรอบ 14-15 ธ.ค.64 อาจลด QE และมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในปี 2565 เร็วขึ้น
ขณะที่เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อไปแตะบริ เวณ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยประเด็น omicron ยังต้องติดตาม หลังจากพบผู้ติดเชื้อในไทยต้องติดตามท่าทีการรับมือของรัฐบาลไทยหากเข้มงวด คาดจะเร่งสร้างแรงกดดัน Fundflow และบรรยากาศการลงทุนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ประเมินแนวรับสำคัญยังคงมุมมองเดิม คือ EMA 200 วัน บริเวณ 1,572 จุดและ Downside ในการปรับลงรอบนี้ไม่น่าจะหลุด 1,540 จุด เพราะหากพิจารณาแรงกดดันการปรับฐานแรงไม่น่ามากจากแรงขายจากต่างชาติคาดน้อยแล้ว ประเมินสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของต่างชาติอยู่ในระดับต่ำสุดตลอดการณ์ที่ระดับ 17.94%
นอกจากนี้ เดือน ธ.ค. จะมี Fund Flow หนุน SET จากกองทุนประหยัดภาษีที่ปกติจะมียอดซื้อเข้ามาเกิน 25% ของยอดซื้อทั้งปี และหากดูจากช่วงท้ายปี 63แล้วมียอดซื้อกองทุน SSF และ RMF ประเภทหุ้นไทยราว 8.8 พันล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 28% ของแรงซื้อทั้งปี 2563)ส่วนประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ GDP งวด 3Q64 ของญี่ปุ่น และยุโรป ,ยอดส่งออกและนำเข้าของ จีน และ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐก่อน พ.ย.64
ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ถือเงินสดในมือ 25-35% เพื่อรอจังหวะการลงทุนอีกครั้งหากประเด็นกดดันต่างๆเริ่มมีความชัดเจนหรือ คลี่คลาย ส่วนเม็ดเงินที่เหลือยังคงเน้นทยอยสะสมหุ้นกลุ่มที่มีความปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และราคาหุ้นปรับฐานลงมาเยอะในช่วงที่กังวลโควิด