วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“กรมโรงงานฯ”ลุยรื้อกฏหมาย 3 ฉบับ “คุมโรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กรมโรงงานฯ”ลุยรื้อกฏหมาย 3 ฉบับ “คุมโรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศ”

“กรมโรงงานอุตสาหกรรม” เร่ง 3 มาตรการแก้ปัญหา PM 2.5 เตรียมรื้อกฏหมาย 3 ฉบับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันคุมเข้มโรงงาน ลดมลพิษทางอากาศ คาดแล้วเสร็จในปีนี้

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ มอบนโยบายให้หน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน สังคม และชุมชน  แบ่งเป็น  3 มาตรการ คือ มาตรการเร่งด่วน มาตรการระยะกลาง และมาตรการระยะยาว ในการตรวจกำกับอย่างเข้มงวด ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการระบายมลพิษจากโรงงาน โดยมอบหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันนโยบายสู่การดำเนินการอย่างบูรณาการ 

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า   แผนเร่งด่วนนั้น จะควบคุมการประกอบกิจการอย่างเข้มงวดกรณีตรวจพบโรงงานปล่อยเกินมาตรฐาน จะทำการออกคำสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขทันที  ขณะที่มาตรการระยะกลาง พัฒนาระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษทางอากาศระยะไกล (Pollution Online Monitoring System: POMS) 

ส่วนมาตรการระยะยาวจะปรับปรุงกฎหมายการระบายมลพิษจากโรงไฟฟ้าให้เข้มงวดขึ้น และพัฒนากฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Register : PRTR) สำหรับภาคอุตสาหกรรม กฎหมายควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย และกฎหมายการระบายฝุ่นละอองขนาดเล็กจากปล่อง 

ทั้งนี้จะร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547 เพื่อให้ค่าการระบายฝุ่นละอองรวมมีความเหมาะสมกับสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 

รวมถึงพัฒนากฎหมายว่าด้วยการรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ  สำหรับภาคอุตสาหกรรม พร้อมระบบการรายงานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายควบคุมการระบายสารอินทรีย์ระเหย 

โดยในระยะแรกเน้นที่โรงงานกลุ่มผู้ผลิต ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซธรรมชาติ โรงปิโตรเคมี และโรงงานเคมี ให้ควบคุมการประกอบกิจการและจุดที่อาจเกิดการระเหยของสารอินทรีย์สู่สิ่งแวดล้อมได้ เช่น ถังกักเก็บสารอินทรีย์ระเหย กิจกรรมการซ่อมบำรุง การใช้หอเผาทิ้ง สุดท้ายคือการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมการระบายฝุ่นละอองขนาดเล็กจากปล่อง ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความสัมพันธ์ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate : TSP) 

ทั้งนี้ได้จัดทำข้อแนะนำการปรับแต่งและการลดฝุ่นละอองจากการเผาไหม้ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนในรูปแบบวีดิทัศน์เพื่อให้โรงงานนำไปศึกษาได้เอง อีกทั้งเฝ้าระวังระดับฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรม รวมถึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ดำเนินการส่งเสริมการลดปริมาณอ้อยเผาที่จะเข้าสู่โรงงาน 

 “หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในช่วงฤดูหนาวจะเกิดปัญหา PM2.5 มากที่สุด แต่ช่วงอื่นปัญหาไม่มี ทั้งที่โรงงานยังเปิดดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษชี้ว่า PM2.5 จากปล่องระบายโรงงานมีเพียง 4% เมื่อเทียบกับไอเสียจากรถยนต์ที่สูงถึง 52%”  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img