วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightน้ำมันพุ่งดัน“เงินเฟ้อ”ทะลุ 3% แนะรัฐงัดมาตรการช่วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

น้ำมันพุ่งดัน“เงินเฟ้อ”ทะลุ 3% แนะรัฐงัดมาตรการช่วย

กรุงไทย”เผยราคาน้ำมันดิบทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หนุนเงินเฟ้อพุ่งเกิน 3% ฉุดกำลังซื้อระชาชนหดตัว ชี้ตรึงดีเซล 30 บาทยังไม่เพียงพอ แนะรัฐคลอดมาตรการเสริมช่วยลดภาระค่าครองชีพ

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่กระทบกับเศรษฐกิจไทยในขณะนี้คือ ราคาพลังงาน ซึ่งหากราคาน้ำมันในตลาดโลกแตะถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและสูงมากกว่านี้พร้อมลากยาวกว่าที่คาดจะส่งผลกระทบในวงกว้างขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเงินเฟ้อที่จะทำให้ในช่วงไตรมาส 1 หรือครึ่งปีแรกของปีนี้เงินเฟ้ออาจจะเกิน 3% ได้ เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นกระทบกับกำลังซื้อของประชาชน การบริโภคจะชะลอตัว

“การตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ระดับไม่เกิน 30 บาทของภาครัฐอาจจะไม่เพียงพอ เพราะราคาสาธารณูปโภค อย่างค่าไฟฟ้า ราคาค่าโดยสารจะปรับที่สูงขึ้นด้วย รวมถึงราคาสินค้าที่สูงขึ้นตามราคาพลังงานจะกระทบต่อภาคการใช้จ่าย การบริโภคของประชาชนในที่สุด ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น ภาครัฐอาจจะมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเพิ่มเติม”


อย่างไรก็ดี ธนาคารมองเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีของไทยยังอยู่ในกรอบใกล้เคียง 3% โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจะชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ยังต้องจับตาสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัสเซียและยูเครนว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นจนเกิดการสู้รบหรือไม่ เพราะจะกระทบกับราคาพลังงานให้สูงขึ้นอีกได้

ส่วนในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 9 ก.พ.นี้ คาดว่ากนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 0.5% คาดว่า ศรษฐกิจไทยในปีนี้มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนเพราะการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะไม่กระทบกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและไทยมากนัก 

ขณะเดียวกันท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้เห็นโอกาสในอุตสาหกรรมการแพทย์จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐคาดหวังว่าจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยต้องวางเป้าหมายจะผลักดันไทยก้าวเป็นเมดิคัล ฮับ (Medical Hub) ในระดับโลกอย่างเต็มรูปแบบ


สำหรับองค์ประกอบสำคัญที่ภาครัฐวางไว้ให้ขับเคลื่อนการเป็นเมดิคัล ฮับ ของไทย ได้แก่ 1.ศูนย์กลางบริการทาง การแพทย์ 2.ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 3.ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ และ 4.ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย ซึ่งหากภาครัฐผลักดันอย่างจริงจัง เชื่อว่าภายใน 5-6 ปีไทยจะสามารถเป็นเมดิคัล ฮับ ได้และคาดช่วยสร้างราย ได้ เข้าประเทศถึง 8 แสนล้านบาทต่อปี ภายในปี 2570 จากปัจจุบันที่มีมูลค่าประมาณ 2 แสนกว่าล้านบาท 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img