วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สภาพัฒน์”คาดจีดีพีปีเสือโต 3.5-4.5% “ส่งออก-ท่องเที่ยว-ลงทุนภาครัฐหนุน”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สภาพัฒน์”คาดจีดีพีปีเสือโต 3.5-4.5% “ส่งออก-ท่องเที่ยว-ลงทุนภาครัฐหนุน”

สศช.” ประเมินจีดีพีปีเสือโต 3.5-4.5% หวังการท่องเที่ยวฟื้น-ส่งออกเติบโต-การลงทุนภาครัฐหนุน แนะดูแลหนี้สินครัวเรือน-ขับเคลื่อนการใช้จ่ายภายในประเทศให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า  คาดแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัวในช่วง 3.5 – 4.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัว 4.9% การอุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.5%  และการลงทุนภาคเอกชน   3.8%   และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.5 – 2.5% จากเดิมที่คาด 0.9 – 1.9% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.5% ของ GDP 

ขณะที่ไตรมาสที่ 4/64 ขยายตัว 1.9% ในไตรมาสที่ 3/64  ลดลง 0.2%  เป็นผลจากความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  รวมทั้งมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ GDP ปี 64 โต 1.6% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 1.2%

สำหรับประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปีนี้เห็นวา  ควรให้ความสำคัญกับ 1.การป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด  2.การสนับ สนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว 

โดยเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงและ ในสาขาเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว  การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับ การพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม และ การเร่งรัดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ

3.การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ โดย การติดตามและประเมินผลมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 

การดูแลกลไกตลาด เพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า รวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการพิจารณาการใช้จ่ายภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และ 2566 โดยให้ความสำคัญมากขึ้นกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน เพื่อรองรับแรงงานย้ายกลับภูมิลำเนา

4. การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการจูงใจในการชำระหนี้และบรรเทาภาระหนี้สินที่สำคัญ

5. การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า โดยการขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลัก ควบคู่กับการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพและการสนับสนุนการค้าชายแดน การพัฒนาสินค้าส่งออกให้มีคุณภาพและมาตรฐาน  

การแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์  การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (v) การปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต

6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดยการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดการลงทุนจริงการแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจการดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก 

การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค การลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูงเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย

7. การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ8.การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ9.การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img