วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 4, 2024
หน้าแรกHighlightการค้าโลกฟื้นหนุนส่งออกม.ค.โต 8%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การค้าโลกฟื้นหนุนส่งออกม.ค.โต 8%

“จุรินทร์”เผยส่งออกม.ค.เติบโต 8% มูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านบาท หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น ชี้สงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบไทยทางอ้อมมากกว่าทางตรงเหตุไทยทำการค้ากับ 2 ประเทศน้อยยันส่งออกปีนี้โต 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนม.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8% มีมูลค่า 21,258.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้าขยายตัว 20.5% มีมูลค่า 23,785 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า ขาดดุล 2,526.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดส่งออกที่ขยายตัวได้ดี 10 อันดับแรก อาทิ ตลาดอินเดีย รัสเซีย ขยายตัว 31.9 % สหราชอาณาจักร 29.7 % เกาหลีใต้ 26.8 % สหรัฐฯ 24.1 % อาเซียน 13.2 % จีน 6.8 %

สำหรับปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในเดือนม.ค. ได้แก่ การสานต่อนโยบายหลักดันสินค้าตามยุทธศาสตร์ ตลาดนำการผลิต การเสริมศักยภาพการค้าชายแดน การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย ภาคการผลิตทั่วโลกยังขยายตัว และปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยตัวเลขการส่งออกเดือนม.ค. ที่ตัวเลขทางการออกล่าช้า เพราะเป็นช่วงเวลาที่กรมศุลกากรปรับระบบพิกัดศุลกากรทุก 5 ปี รายละเอียดรายสินค้าจึงยังไม่ครบถ้วน

ขณะที่สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ตนมอบหมายให้ท่านปลัดกระทรวงฯ ประชุมกับภาคเอกชน ซึ่งมีทั้งสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ สมาคมธนาคารไทย สมาพันธ์ SMEs และสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้อง พบว่า
สถานการณ์ในขณะนี้ การเจรจายังไม่ได้ข้อสรุปที่เป็นข้อยุติ การประเมินผลกระทบที่มีต่อภาวะการค้าการส่งออกและนำเข้าของไทย จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบทางตรงเพราะตลาดรัสเซียเป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนการตลาดแค่ 0.38% ของไทย และตลาดยูเครน 0.04% ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ไม่มาก

นอกจากนี้หากเจาะรายสินค้าพบว่าถ้าจะมีผลกระทบทางตรงอาจจะกระทบต่อสินค้าประเภทยางรถยนตร์ อาหารแปรรูป อัญมณีและเครื่องสำอาง ที่ส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนเป็นต้น และในอนาคตอาจกระทบต้นทุนธุรกรรมทางการเงิน และต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือ หากราคาน้ำมันยังสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และหากมีการปิดท่าเรือบางท่าในรัสเซียหรือยูเครน

การส่งสินค้าของไทยอาจต้องเปลี่ยนท่าเรือ จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งได้สำหรับผลกระทบทางอ้อม อาจมีเรื่องราคาพลังงานหรือราคาเหล็กนำเข้า ที่นำมาผลิตสินค้าต่อเนื่อง เช่น กระป๋องหรือก่อสร้างเป็นต้น และผลกระทบต่อราคาธัญพืชที่นำเข้า เพื่อทำอาหารสัตว์ เช่น ข้าวสาลีและ ข้าวโพด เป็นต้น เพราะรัสเซีย-ยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลกที่ประชุมได้เตรียมมาตรการต่างๆรองรับร่วมกันหากเกิดปัญหา


ทั้งนี้ได้เตรียมบุกตลาด ตลาดตะวันออกกลาง ตลาดแอฟริกา ตลาดลาติน รวมทั้งตลาดทดแทนสินค้าของรัสเซียหรือยูเครนที่ไม่สามารถส่งออกไปตลาดสำคัญในโลกได้ เช่น มันสำปะหลัง อาจส่งไปจีนแทนข้าวโพดของยูเครนหรือผลิตภัณฑ์ยางในสหรัฐ อาหารสำเร็จรูปทดแทนตลาดรัสเซียยูเครน เป็นต้น

ซึ่งตนมอบให้ปลัดฯ ประสานงานกับภาคเอกชนโดยใกล้ชิดและติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด ทำงานร่วมกันถ้าเกิดปัญหาหน้างานเร่งแก้ปัญหาร่วมกันโดยเร็ว ให้ได้รับผลทางบวกมากที่สุดและทางลบน้อยที่สุด

ขณะนี้ยอมรับว่าอาหารสัตว์ วัตถุดิบอาหารสัตว์ บางส่วนเกิดปัญหาเฉพาะกรณี เช่น กากถั่วเหลืองนำเข้าจากสหรัฐฯ กรมการค้าภายในรายงานว่าเกิดจากภัยแล้งในสหรัฐฯปริมาณกากถั่วเหลืองลดลง ราคาจึงพุ่งสูงขึ้น มีการเรียกร้องให้ปรับอัตราภาษี โดยกระทรวงคลังต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าหากปรับภาษีนำเข้าจะกระทบเกษตรกรไทยอย่างไร


อย่างไรก็ตาม ต้นทุนอาหารสัตว์ในประเทศในกรณีข้าวโพดที่สูงขึ้นมาเพราะราคาข้าวโพดสูงขึ้นถือเป็นความสำเร็จอีกด้านหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯและรัฐบาล ข้าวโพด ราคา 10-11 บาท/กก. ซึ่งเกษตรกรมีความสุข แต่ก็เป็นต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ทำให้ต้นทุนเนื้อสัตว์อาจสูงขึ้น ดังนั้นต้องแก้ปัญหาทั้งสองด้าน ให้สมดุลอยู่ได้ทั้งสองฝ่ายต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img