วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightธปท.-ก.ล.ต.ห้ามใช้คริปโทเคอร์เรนซีซื้อ-ขายสินค้าบริการ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.-ก.ล.ต.ห้ามใช้คริปโทเคอร์เรนซีซื้อ-ขายสินค้าบริการ

ธปท.-ก.ล.ต. ห้ามใช้คริปโทเคอร์เรนซี่ สินทรัพย์ดิจิทัล ซื้อ-ขายสินค้า มีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หวั่นสร้างความเสียหายให้กับประชาชน-เพิ่มความเสี่ยงการฟอกเงิน

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.แจ้งว่า จากกรณีที่ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกเกณฑ์กำกับการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่สนับสนุนการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะเริ่มมีผล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งหลักเกณฑ์การกำกับดูแล  ระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท จะต้องไม่ให้บริการ สนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล 6 ข้อต่อไปนี้

1. ไม่โฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ

2. ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการ

3. ไม่เปิด Wallet เพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ

4. ไม่ให้บริการโอนเงินบาท ซึ่งเป็นการโอนจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น

5. ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล จากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น

6. ไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุน การรับชำระค่าสินค้าและบริการ

สำหรับผู้ประกอบการที่ให้บริการอยู่ก่อนแล้ว พบว่าเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยด้ขยายเวลาจากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ และกรณีลูกค้ามีบัญชีที่เปิดไว้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการชำระสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการ ทาง ก.ล.ต.จะมีการส่งข้อความเพื่อแจ้งเตือน หากยังดำเนินการอยู่จะต้องถูกดำเนินการรวมถึงถูกระงับการใช้บริการชั่วคราว หรือยกเลิกการให้บริการ

นายพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ทำให้เกิดผลกระทบ 2 กลุ่มคือประชาชนและผู้ประกอบการที่ราคาอาจผันผวน เนื่องจากยอดการใช้จ่ายของผู้ซื้อหรือรายรับของผู้ขายมีความไม่แน่นอน

อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการฟอกเงินและเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม และอีกกลุ่มคือระบบเศรษฐกิจการเงินซึ่งเป็นผลกระทบใหญ่ที่ทำให้แบงก์ชาติจะไม่สามารถเข้ามาดูแลภาวะการเงินได้ เนื่องจากคนจะถือครองเงินบาทน้อยลง ซึ่งแบงก์ชาติไม่สามารถปล่อยสภาพคล่องในรูปแบบที่ไม่ใช่เงินบาทได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img