วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสรท.วอนรัฐพยุงค่าบาทอุ้ม''ผู้ส่งออก''
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สรท.วอนรัฐพยุงค่าบาทอุ้ม”ผู้ส่งออก”

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯวอนรัฐดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนค่าอยู่ระดับนี้ต่อไปอีกระยะหวังช่วยส่งออก เผย 6 ปัจจัยเสี่ยงเป็นอุปสรรคขวากหนามดันตัวเลขไม่ถึงเป้า คาดทั้งปีโต 5%  พร้อมเรียกร้องรัฐพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำอิงเงินเฟ้อเป็นหลัก

นายนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า  การส่งออกไทยในไตรมาส  2 (เมษายน-มิถุนายน) คาดว่าเติบโต 3.5-5% และทั้งปีโต  5% ปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อน ส่วนจะขยายตัวถึง 10% ตามที่กระทรวงการคลังต้องการหรือไม่ต้องติดตามสถานการณ์อีกครั้ง ตัวแปรหนึ่งที่สำคัญคือ ค่าเงินบาท

ขณะนี้ สรท.ใช้ระดับค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.5 – 34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หวังว่าภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะช่วยดูแลค่าเงินบาทให้ทรงตัวอยู่ในอ่อนค่าเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคการส่งออก เพราะปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่ามาจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก  0.5% จึงเป็นตัวผลักดันทำให้ค่าเงินทั่วโลกอ่อนลง โดยเฉพาะเงินเยนที่อ่อนลงมาก   เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีการปรับอัตราดอกเบี้ย เพราะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ 6 ประการ ประกอบด้วย 1.สถานการณ์สงครามระหว่างยูเครน-รัสเซีย 2.ราคาพลังงานทรงตัวระดับสูง 3.ค่าระวางปรับลงเล็กน้อยแต่ยังทรงตัวในระดับสูง 4.แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับมีแนวโน้มต้นทุนการจ้างงานสูงขึ้น 5.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน และ6.สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ส่วนกรณีการเรียกร้องปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น ขอให้ภาครัฐพิจารณาโดยอ้างอิงจากปัจจัยเงินเฟ้อเป็นหลัก พร้อมทั้งบริหารเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินกว่า 5% เพื่อให้ผู้ประกอบการไม่แบกรับภาระที่สูงจนเกินไป ขณะเดียวกันแรงงานต้องไม่ขาดแคลน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก และดูถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเหมาะสม และไม่ส่งผลรุนแรงต่อผู้ส่งออกหรือผู้ผลิต 

อีกทั้งภาครัฐต้องพิจารณาควบคุมหรือปรับลดค่าใช้จ่ายภาคประชาชนในการดำรงชีวิต อาทิ ค่าเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และค่าพลังงาน เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ รวมถึงผลักดันการขยายการตลาด เนื่องจากการทำตลาดใหม่ใหม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องของการสนับสนุนการหาการตลาดใหม่ เร่งผลักดันการค้าเข้าสู่ตลาดอาร์เซ็ป หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ให้มากที่สุด เพื่อใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงดังกล่าว

  สำหรับราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง สรท.อยากให้รัฐบาลกลับมาตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร อยากให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของประเทศไทยตรึงราคา หรืออาจขยายระยะเวลาการตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตรถึงสิ้นปีนี้ เพราะราคาที่สูงกว่า 30 บาทต่อลิตรส่งผลต่อต้นทุนการผลิตพลังงานอุตสาหกรรม และต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img