วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightสารพัดปัจจัยลบ ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภควูบ ต่ำสุดรอบ 8 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สารพัดปัจจัยลบ ฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภควูบ ต่ำสุดรอบ 8 เดือน

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 40.7 ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน รับผลกระทบจากโอมิครอน-สงครามรัสเซีย & ยูเครน-น้ำมัน-สินค้าแพงดันค่าครองชีพพุ่ง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงจากระดับ 42.0 มาอยู่ที่ 40.7 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนก.ย.64 เป็นต้นมา เป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน 

ทั้งนี้รวมถึงปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลงหรือชะลอตัวลง และอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต รวมถึงการที่ระดับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัญหาราคาสินค้าแพง ก็ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันปรับตัวลดลงจากระดับ 26.2 มาอยู่ที่ 25.4 และดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 49.4 มาอยู่ที่ระดับ 48.0

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 34.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ 38.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 49.6 โดยปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนมี.ค.2565  

“การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากความวิตกโควิด-19 ค่าครองชีพ ทำให้มีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งต้องติดตามว่าจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงไรและยาวนานเพียงใด และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงต่ำกว่าเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับ 2.5-4.0% ในปีนี้”นายธนวรรธน์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img