วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“กนก”ห่วงสถานะการคลังถึง“จุดเสี่ยง” ใช้ไป10ล้านล้าน-ปี66อีก3.1ล้านล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กนก”ห่วงสถานะการคลังถึง“จุดเสี่ยง” ใช้ไป10ล้านล้าน-ปี66อีก3.1ล้านล้าน

“กนก” ติงรัฐบาลใช้งบแล้วกว่า 10 ล้านล้านบาท ไม่รวมงบปี 66 อีก 3.185 ล้านล้านบาท แต่ปัญหายังเหมือนเดิม เหตุ 3 ขาด ทำการใช้งบไร้ประสิทธิผล ห่วงสถานะการคลังของประเทศถึงจุดเสี่ยง แนะต้องใช้งบอย่างแม่นยำ บนหลัก ควักเงินน้อย แก้ปัญหาได้มาก

วันที่ 8 มิ.ย.65 นายกนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที 2566 ที่ฝ่ายรัฐบาลชนะ ผ่านการรับหลักการวาระที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า กระบวนการนี้หมุนครบรอบ 4 ปีงบประมาณของสภานี้แล้ว แต่ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติ ทั้งที่รัฐบาลใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 10 ล้านล้านบาท ยังไม่รวมงบประมาณปี 2566 อีก 3.185 ล้านล้านบาท บรรทัดสุดท้ายของคำตอบคืองบประมาณที่ใช้ไปนั้น ไม่ก่อให้เกิดผลสำเร็จของการแก้ปัญหาได้ การใช้งบประมาณจึงเสียเปล่า ปัญหาของประชาชนและประเทศชาติยังคงเหมือนเดิม คำถามใหญ่ที่สุด ที่ต้องช่วยกันคิด คือ อะไรเกิดขึ้นกับกระบวนการใช้งบประมาณ จึงทำให้ผลสำเร็จของการแก้ปัญหา ไม่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเพราะขาดความเข้าใจในสามเรื่อง คือ 1) ขาดการรู้และเข้าใจสาเหตุของปัญหาอย่างถูกต้องแท้จริง 2) ขาดการมีความรู้ที่นำไปแปลงเป็นวิธีการแก้สาเหตุของปัญหานั้นให้หมดไป และ3) ขาดข้าราชการและนักการเมืองที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิธีการแก้ปัญหานั้น ตั้งใจและทุ่มเทกำลังเพื่อจัดการกับสาเหตุของปัญหานั้นให้หมดไป

ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ถ้ายังขาดทั้ง 3 ข้อข้างต้น ไม่ว่าจะมีงบประมาณมากเท่าไหร่ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและประเทศชาติได้ อีกทั้งเห็นว่า ความเข้าใจที่น่ากลัว คือ ถ้าหน่วยงานหรือปัญหาหนึ่งได้รับงบประมาณมากขึ้น จะทำให้แก้ไขปัญหาได้มากขึ้น แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นพบว่างบประมาณที่มากขึ้น ไม่ได้ประกันว่าการแก้ปัญหา จะทำได้มากขึ้น เช่น ถ้างบประมาณกระทรวงศึกษาธิการมากขึ้น จะทำให้คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ดีขึ้น ถ้างบประมาณกระเกษตรและสหกรณ์มากขึ้น จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ถ้ากระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณมากขึ้น จะทำให้ประเทศมีความมั่นคงมากขึ้น ถ้ากระทรวงคมนาคมได้รับงบประมาณมากขึ้น จะทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลงและการค้าการลงทุนของไทยจะแข่งขันได้มากขึ้น เป็นต้น ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์แล้วว่าตรรกะการเพิ่มงบประมาณจะทำให้รัฐบาลและกระทรวงแก้ปัญหา ได้มากขึ้นนั้น ไม่เป็นความจริง

“ตรงกันข้ามประเทศไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในสถานะการเงินการคลังที่มีความเสี่ยงสูง แนวความคิดเรื่องงบประมาณจึงควรเน้น “การใช้งบประมาณน้อย แต่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้มาก” พูดง่าย ๆ คือ ระบบงบประมาณควรเน้นที่ “ความแม่นยำ” ของการแก้ปัญหามากกว่า ประเทศไทยวันนี้ไม่ได้ร่ำรวยที่จะยิงนกด้วยจรวดที่มีราคาแพง แต่จะต้องยิงนกด้วยปืนเล็กยาวที่มีราคาถูก แต่คนยิงจะต้องยิงด้วยความแม่นยำ “ความแม่นยำของการใช้งบประมาณสำคัญว่าจำนวนงบประมาณ ดังนั้นเราต้องกลับไปวิเคราะห์และหาคำตอบจากประเด็น 3 ข้อที่กล่าวข้างต้น คือ 1) เข้าใจสาเหตุปัญหา 2) มีวิธีการแก้สาเหตุปัญหาที่แม่นยำ 3) ผู้ปฏิบัติมีใจที่จะแก้ปัญหาเพื่อประชาชนจริง 3 ข้อนี้จะทำให้ “ใช้งบน้อย แต่แก้ปัญหาประชาชนได้มาก” ทางรอดของประชาชนและประเทศ จึงจะเกิดขึ้นจริงได้” นายกนก กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img