วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightบิ๊กรับเหมาใน-นอกประเทศชิงเค้กประมูลสายสีส้มคึกคัก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บิ๊กรับเหมาใน-นอกประเทศชิงเค้กประมูลสายสีส้มคึกคัก

ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม วงเงิน 1.4 แสนล้าน คึกคัก 14 บริษัทดัง แห่ซื้อซองชิงเค้ก มีกำหนดการจัดประชุมคัดเลือกในวันที่ 15 มิ.ย. นี้

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า  หลังจากรฟม. ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมคัดเลือกเป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และได้เปิดขายเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Documents: RFP) ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ มีผู้ที่สนใจติดต่อขอซื้อเอกสารประกวดราคารวมจำนวนทั้งสิ้น 14 ราย ดังนี้

1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 

3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

4. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

6. China Harbour Engineering Company Limited

7. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

8. โตคิว คอนสตรัคชั่น คัมพานี ลิมิเต็ด

9. Incheon Transit Corporation

10. บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน)

11. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

12. RH International (Singapore) Corporation PTE. LTD.

13. Kumagai Gumi Co., LTd.

14. บริษัท ซีเมนต์ โมบิลิตี้ จำกัด

 สำหรับขั้นตอนต่อไป รฟม. มีกำหนดการจัดประชุมชี้แจงการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้า    สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เพื่อชี้แจงรายละเอียดแก่เอกชนผู้ซื้อเอกสารข้อเสนอฯ ถึงประเด็นที่ควรทราบเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการหรืองานในสัญญา รวมถึงการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำเอกสารข้อเสนอฯ สำหรับการร่วมลงทุนก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้า และซ่อมบำรุงรักษา ต่อไป

อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 1.4 หมื่นล้านบาท ค่างานโยธา 9.6 หมื่นล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้าบริหารการเดินรถ ซ่อมบำรุง 3.2 หมื่นล้านบาท โดย รฟม.จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม.

โครงการนี้มีแนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก แบ่งเป็น ส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 13.4 กม. 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. ได้ให้ข้อมูลว่า หลังจาก รฟม. ยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.64 ทาง รฟม. จึงได้ปรับแผนการดำเนินงานโครงการดังกล่าวดังนี้ คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในเดือน มี.ค.-ส.ค. 65, ก่อสร้างโครงการเดือน ก.ย.65, เปิดให้บริการโครงการส่วนตะวันออก เดือน ส.ค.68 และเปิดให้บริการส่วนตะวันตก เดือน ธ.ค.70

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img