วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“พลังงาน”ดัน“เงินเฟ้อ”มิ.ย.พุ่ง 7.66% นิวไฮครั้งใหม่รอบ 13 ปี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พลังงาน”ดัน“เงินเฟ้อ”มิ.ย.พุ่ง 7.66% นิวไฮครั้งใหม่รอบ 13 ปี

“พาณิชย์” ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.สูงขึ้น 7.66% ถือเป็นนิวไฮครั้งใหม่ในรอบ 13 ปี ผลพวงจากต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น คาดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% 

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนมิ.ย. 2565 เท่ากับ 107.58 เพิ่มขึ้น 7.66%  เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.51% และเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.) สูงขึ้น 5.61% เป็นผลมาจากราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 61.83% แบ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง มีอัตราการเติบโตของราคา 39.45% ค่าไฟฟ้า 45.41% และราคาก๊าซหุงต้ม12.63%   โดยถือว่าเป็นการทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 13 ปี  

ขณะที่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีอัตราการเติบโตของราคา 6.42%  ส่วนกลุ่มอาหารมีสัดส่วน 34.27% ของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และเครื่องประกอบอาหาร สาเหตุที่กลุ่มอาหารมีราคาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากพลังงานเป็นต้นทุนแฝงในกระบวนการผลิตสินค้าอาหารทุกขั้นตอน ตลอดจนเป็นต้นทุนโลจิสติกส์ และราคาวัตถุดิบทั้งหมด

สำหรับสินค้าอื่น ๆ มีสัดส่วน 3.9 %  เช่น สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ของใช้ส่วนบุคคล (สบู่ถูตัว ยาสีฟัน) ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) และค่าโดยสารสาธารณะ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ขณะที่สินค้าสำคัญอีกหลายรายการราคาปรับลดลง เช่น กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลง 2.73% โดยเฉพาะราคาข้าวสาร เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีจำนวนมาก และการจัดโปรโมชั่นตามห้างสรรพสินค้า กลุ่มผลไม้สด ลดลง 2.53% อาทิ เงาะ มังคุด ลองกอง ตามปริมาณผลผลิตที่มีค่อนข้างมาก กลุ่มการสื่อสาร ลดลง 0.08% อาทิ ค่าส่งพัสดุไปรษณีย์ และค่าเครื่องรับโทรศัพท์มือถือทั้งนี้ ในเดือนมิ.ย..2565 มีสินค้าที่ราคาสูงขึ้น 213 รายการ ราคาลดลง 80 รายการ และไม่เปลี่ยนแปลง 137 รายการ

ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด  คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปีนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0-5.0% ค่ากลางอยู่ที่ 4.5% โดยยังไม่ปรับการคาดการณ์เงินเฟ้อใหม่ เพราะคาดการณ์ได้ยาก  เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อมีมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำ  โดยที่ผ่านมาภาครัฐที่พยายามช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ และผู้ประกอบการภาคเอกชนได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการตรึงราคาขายปลีกเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพของประชาชน โดยคำนึงถึงการได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างสมดุล ทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เป็นสำคัญ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img