วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightโควิด! พ่นพิษคนไทยกระอัก“หนี้ท่วม”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โควิด! พ่นพิษคนไทยกระอัก“หนี้ท่วม”

“ม.หอการค้าไทย” เผยพิษโควิดทำหนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง พีคสุด 90.9% ต่อจีดีพีในไตรมาส 1/64 แนะรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนเพิ่มการจ้างงาน-รายได้มากกว่าหว่านเม็ดเงินด้านการบริโภค

นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยพบว่า ใน ไตรมาส 1/65 สถาบันรับฝากเงินและสถาบันการเงินอื่น มียอดเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) รวมทั้งสิ้น 14.64 ล้านล้านบาท ซึ่งโดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 89.2% ต่อจีดีพี ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 4/64 ซึ่งหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 90.0% จากที่เคยขึ้นสูงสุดไปที่ระดับ  90.9%  ในช่วงไตรมาส 1/64  เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด 

“หนี้ครัวเรือนของไทยเริ่มเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 80% ต่อจีดีพี นับตั้งแต่ไตรมาส 1/63 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 และมีการล็อกดาวน์ รวมถึงการปิดกิจการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ อันส่งผลทำให้จีดีพีของประเทศหดตัวติดลบ 6%”นายวิเชียร กล่าว

สำหรับหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ในระดับ 80-90% ไม่ถือว่าเป็นระดับที่น่ากังวล เนื่องจากหนี้ครัวเรือนไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในสถาบันรับฝากเงินที่มีระบบบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี หรือเป็นหนี้อยู่ในระบบเป็นส่วนใหญ่สัดส่วน 80% และมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยหนี้ที่อยู่นอกระบบเป็นเพียง 20% คาดว่าผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ซึ่งหากต้องการให้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีลดลงในอีก 5 ปีข้างหน้าอยู่ระดับ 80% เศรษฐกิจไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้าจะต้องขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 6.2%  

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1,350 ตัวอย่างทั่วประเทศ ที่ส่วนใหญ่มีรายได้เกิน 50,000 บาทต่อเดือน/ต่อครัวเรือนพบว่า คนไทยมีหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นจากหนี้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิต เพื่อนำมาใช้จ่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค และซื้อสินค้าคงทน เช่น บ้าน รถยนต์ สาเหตุการเป็นหนี้เนื่องจากรายได้ต่อครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย เป็นผลมาจากค่าครองชีพสูง สินค้ามีราคาแพง โดยยอดหนี้ต่อครัวเรือนพุ่งสูงถึง 501,711.84 ล้านบาท ขยายตัว 3.7% สูงสุดในรอบ 16 ปี จากปี 63 อยู่ที่ 483,950.84 ล้านบาท 

ทั้งนี้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาผู้ตอบกว่า 65.9% เคยประสบปัญหาการขาดการผ่อนชำระ หรือผิดนัดการผ่อนชำระ เนื่องจากรายได้ลดลง เศรษฐกิจไม่ดี และค่าครองชีพที่ไม่สอดคล้องกับรายได้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง มีข้อเสนอแนะภาครัฐ จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มีการให้ความรู้เรื่องการบริหารหนี้ การฝึกอบรมอาชีพเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ให้ความรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่าย และรู้จักใช้จ่ายอย่างพอเพียง

“แม้จำนวนหนี้ต่อครัวเรือนในปีนี้จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ส่วนใหญ่อยู่ในระบบ จึงสะท้อนได้ว่าคนไทยเข้าถึงสินเชื่อ หรือกู้ในระบบได้มากขึ้นเพราะมีทรัพย์สิน และถือเป็นเรื่องปกติที่คนชั้นกลางจะก่อหนี้เพื่อซื้อสินทรัพย์”นายธนวรรธน์ กล่าว

ทั้งนี้เห็นว่าาครัฐ และเอกชน จะต้องเร่งลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ มาทดแทนมาตรการกระตุ้นการบริโภคที่ไม่สามารถทำได้ในระยะยาว ดังนั้นหากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้เร็ว และนักท่องเที่ยวที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย จะค่อยๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่ต่างตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ และการติดตามหนี้ในระบบ ก็มีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามกลไกปกติ  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img