วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight''กรมสรรพสามิต''จ่อชงบอร์ดอีวีลดภาษีแบตเตอรี่ 22 ก.ย.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”กรมสรรพสามิต”จ่อชงบอร์ดอีวีลดภาษีแบตเตอรี่ 22 ก.ย.นี้

กรมสรรพสามิตเตรียมชงบอร์ดอีวีส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ทั้งมาตรการภาษีและเงินอุดหนุน 22 ก.ย.นี้  หวังต่างชาติย้ายฐานผลิตมาไทย

รายงานข่าวจากกกระทรวงการคลังแจ้งว่า ในวันที่ 22 ก.ย.นี้ กรมสรรพสามิตจะเสนอคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน เป็นประธาน พิจารณามาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถอีวี ซึ่งจะมีทั้งมาตรการทางด้านภาษีและการให้เงินอุดหนุน  เพื่อจูงใจให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย  โดยจะให้เงินอุดหนุนตามขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่คิดเป็นกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ kWh โดยเปรียบเทียบต้นทุนนำเข้ากับต้นทุนที่ผลิตในประเทศ เพื่อให้เท่าเทียมกัน สามารถแข่งขันได้

ทั้งนี้เชื่อว่ามีผู้ประกอบการหลายรายที่อยากจะเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถอีวีในประเทศไทย หากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหากมาตรการออกมาแล้ว จะช่วยกระตุ้นให้มีโรงงานเข้ามาผลิตในประเทศอย่างน้อย 3-4 โรงงาน นอกจากนี้ยังสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยภาษีสรรพสามิต มุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สร้างมาตรฐานสากล เดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้บอร์ดอีวีได้วางแนวทางการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ไว้ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับ pack assembly ขอรับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่

2.ระดับ module production ขอรับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุนจากบีโอไอ, ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี, ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร, ลดอากรขาเข้า 90% สำหรับวัตถุดิบในการผลิตเป็นเวลา 2 ปี และปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่

และ 3. ระดับ cell production ขอรับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุนจากบีโอไอ, ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี, ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร, ลดอากรขาเข้า 90% สำหรับวัตถุดิบในการผลิตเป็นเวลา 2 ปี และปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่

ทั้งนี้ ค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมใช้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันนั้น มีเงื่อนไขว่าต้องผลิตรถอีวีในประเทศ เพื่อชดเชยการนำเข้าด้วย ซึ่งมีเงื่อนไขว่า ต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ โดยต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีต่าง ๆ ดังนี้ 

1. 1 ม.ค. 2569 ต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศระดับ cell

2. 1 ม.ค. 2569 ต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศระดับ module และ 1 ม.ค. 2573 ต้องใช้ PCU Inverter ที่ผลิตในประเทศ และ 1 ม.ค. 2578 ต้องใช้ traction motor หรือ reduction gear หรือคอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ หรือระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) หรือระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) ที่ผลิตในประเทศ โดยเลือก 1 จาก 5 ชิ้นส่วน

3. 1 ม.ค. 2569 ต้องผลิตหรือใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศระดับการประกอบ pack assembly และ 1 ม.ค. 2573 ต้องใช้ PCU Inverter ที่ผลิตในประเทศ และ 1 ม.ค. 2578 ต้องใช้ traction motor หรือ reduction gearหรือคอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ หรือระบบ BMS หรือระบบ DCU ที่ผลิตในประเทศ โดยเลือก 2 จาก 5 ชิ้นส่วน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img