วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSนายกฯย้ำดูแลประชาชนให้เดือดร้อนจากวิกฤติพลังงานให้น้อยที่สุด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯย้ำดูแลประชาชนให้เดือดร้อนจากวิกฤติพลังงานให้น้อยที่สุด

กพช. เคาะแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ฝ่าวิกฤติราคาพลังงานในช่วงมกราคม-เมษายน 2566 นายกฯ ย้ำดูแลประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่สุด

เมื่อวันที่  25 พ.ย. 65 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 8/2565 ร่วมกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงาน นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวมอบนโยบายต่อที่ประชุมตอนหนึ่งว่า ทุกคนทราบดีว่าทุกวันนี้มีปัญหาเรื่องพลังงานในทุกมิติ และจากการติดตามสถานการณ์โลกทั้งภายนอกและภายใน สถานการณ์พลังงานจะอยู่กับเราไปอีกนานพอสมควร ทำให้ต้องเตรียมมาตรการที่เหมาะสมในการดูแลพี่น้องประชาชนไทย ในหลาย ๆ กิจกรรม ต้องพยายามให้มีการปรับเปลี่ยนในช่วงสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ และขอขอบคุณคณะกรรมการทุกคนที่ช่วยกันแก้ไขปัญหามาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง หลายอย่างยังติดขัดในเรื่องเดิม ๆ อยู่ ก็ต้องขอให้ช่วยกัน เพราะปัญหาทุกอย่างเกี่ยวพันกัน ประชาชนเกิดความเดือดร้อนเรื่องไฟฟ้า ดังนั้น จึงขอร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางให้ความร่วมมือกันด้วย

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครนที่ยังไม่มีข้อยุติส่งผลให้ราคาพลังงานโลกมีความผันผวนและมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง ราคา LNG (JKM) ปรับเพิ่มขึ้นจากต้นปี 2564 ที่ 10 $/MMBTU เป็น 30 $/MMBTU ในเดือน ต.ค. 65 การประมาณการณ์แนวโน้มราคา LNG ในปี 2566 – 2567 อยู่ที่ 25 – 33 i$/MMBTU ซึ่งกำลังการผลิตก๊าซฯ จากแหล่งอ่าวไทยลดลงจึงจำเป็นต้องนำเข้า Spot LNG ที่มีราคาสูงเข้ามาทดแทนเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อต้นทุนเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าของประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติพลังงานดังกล่าว ในวันนี้ที่ประชุม กพช. จึงได้มีการพิจารณาแนวทางเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงาน โดยมุ่งเน้นในส่วนของการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย. 66) ดังนี้

1.การบริหารก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยจัดสรรก๊าซฯ จากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซฯ เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยก่อน ในปริมาณที่ไม่เพิ่มภาระอัตราค่าไฟฟ้าจากปัจจุบัน โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่า Ft สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และมอบหมายให้ กกพ. เร่งศึกษาการจัดทำอัตราค่าไฟฟ้ากลุ่มประเภทบ้านอยู่อาศัยที่มีการใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป เพื่อส่งเสริมการประหยัดพลังงาน

2. กพช.ได้ขอความร่วมมือจาก ปตท. ให้พิจารณาจัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ ประมาณ 1,500 ล้านบาทต่อเดือน ระยะเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่ ม.ค.-เม.ย. 66) มาช่วยสนับสนุนในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า โดยแบ่งการจัดสรร ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนลดราคาค่าก๊าซฯ ให้กับ กฟผ. เพื่อสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 500 หน่วยต่อเดือน โดยมอบหมายให้ กกพ. กำกับดูแลการดำเนินการต่อไป ส่วนที่ 2 เป็นส่วนลดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงแยกก๊าซฯ ในการคำนวณต้นทุนก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เพื่อเป็นเชื้อเพลิง

และ 3.กพช. มีมติเห็นชอบให้ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบของราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ ปตท. คิดราคาก๊าซฯ สำหรับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. IPP และ SPP ในระดับราคาเดียวกับที่ใช้การประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ตั้งแต่เดือนที่ กพช. มีมติเป็นต้นไป

นอกจากนี้ที่ประชุม กพช. มีมติเห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดการใช้ก๊าซฯ โดยกำหนดให้ผลตอบแทนจากการดำเนินมาตรการ Demand Response เป็นส่วนหนึ่งของค่า Ft และมอบหมายให้ กกพ. เร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้สามารถลดต้นทุนค่าไฟฟ้าในภาพรวมต่อไป อีกทั้งที่ประชุม กพช. ได้มติมอบหมายให้ กบง. พิจารณาดำเนินการและกำกับดูแลแนวทางการบริหารจัดการก๊าซฯ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤติราคาพลังงานต่อไป

ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีย้ำว่า รัฐบาลมุ่งหวังดูแลกลุ่มเปราะบางและประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมขอบคุณคณะกรรมการฯ ภาครัฐ และภาคเอกชน ที่ช่วยกันทำให้ประเทศอยู่รอดในสถานการณ์วิกฤติด้านพลังงาน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img