วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ดิษทัต”ไขข้อสงสัยราคาน้ำมันขายปลีก ทำไม...ต้องอ้างอิง“ราคาตลาดสิงคโปร์”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ดิษทัต”ไขข้อสงสัยราคาน้ำมันขายปลีก ทำไม…ต้องอ้างอิง“ราคาตลาดสิงคโปร์”

“ดิษทัต” CEO OR ไขข้อสงสัย ทำไมราคาน้ำมันขายปลีกในไทย ต้องอ้างอิงราคาที่ตลาดสิงคโปร์ ย้ำชัดข้อได้เปรียบ 3 ข้อของสิงคโปร์ที่แม้ไม่มีโรงกลั่น แต่ยังกำหนดราคาขายเองได้ เผยไทยจะกำหนดราคาเอง แต่ถ้าไม่มีผู้เล่นในตลาด ก็ทำไม่ได้

การกำหนดราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไทย จะมีการอ้างอิง ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ หรือ Singapore International Monetary Exchange (SIMEX) ซึ่งมีคำถามมากมายว่า ทำไมไทยต้องอ้างอิง “ราคาสิงคโปร์” ด้วย ทั้งที่สิงคโปร์ไม่มีโรงกลั่นน้ำมันเป็นของตัวเอง แต่ไทยมีโรงกลั่นน้ำมันหลายแห่ง ในเรื่อง “ดิษทัต ปันยารชุน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) และมีประสบการณ์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการเทรดน้ำมันมาก่อน เพราะเคยดำรงตำแหน่ง “รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)” ก่อนจะก้าวมาสู่ตำแหน่ง CEO OR ได้อธิบายอย่างง่ายๆ ให้เข้าใจในเรื่องนี้ว่า…

ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้า ทำให้ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ การที่เราอิง “ราคาสิงค์โปร์” เพราะว่า การกำหนดราคาต้องโปร่งใส ไม่มีใครกำหนดราคา หรือฮั๊วราคาเอง คำถามว่า ทำไมสิงค์โปร์ตั้งราคาอ้างอิงได้ ทั้งที่ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นของตัวเองด้วยซ้ำ คำตอบคือ

1) โลจิสติกส์สิงคโปร์ดีมาก เป็นท่าเรือน้ำลึก ที่รองรับเรือขนาดใหญ่ ขนน้ำมันทีละ 2 ล้านบาร์เรล แต่ของไทยโครงสร้างท่าเรือน้ำลึกไม่พอ ไทยต้องดึงท่อยืดไป 20 กม. เรือใหญ่ไม่สามารถส่งเข้าท่าได้เลยต้องส่งผ่านท่อเข้ามา

2) โลเคชั่นของสิงคโปร์เป็นจุดที่สายการเดินเรือผ่าน แต่ของไทยต้องมีการให้เรือมาที่อ่าวไทย การเข้ามาในอ่าวไทยมีต้นทุน แต่สิงคโปร์เป็นทางผ่าน โครงสร้างพื้นฐานแตกต่างกัน และสิงคโปร์มีการอำนวยความสะดวกนักลงทุนในการเข้าไปตั้งบริษัท สร้างระบบสาธาณูปโภครองรับ

3) มีบริษัทผู้ค้าน้ำมันไปตั้งอยู่ในสิงคโปร์จำนวนมากกว่า 200-300 บริษัท ซึ่งเมื่อประเทศที่ผลิตน้ำมันได้ จะมีน้ำมันที่เหลืออีก 30% ที่ไม่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ จึงต้องไปขายที่ตลาดที่มีพ่อค้าจำนวนมาก เหมือนขายผักผลไม้ ก็ไปตลาดไท พอมีการค้าขายเยอะ ก็เชื่อว่าจะเป็นตลาดที่สมบูรณ์แบบที่สุด จึงต้องไปอิงราคาสิงคโปร์ ซึ่งการที่ไทยจะมากำหนดราคาเอง ก็กำหนดได้ แต่เมื่อไม่มีผู้เล่น ก็ไม่สามารถทำได้

ปัจจุบันราคาหนึ่งบาร์เรล ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 35.70-35.80 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ฉะนั้น 1 บาร์เรลเท่ากับ 22 สตางค์ ถ้าราคาสิงคโปร์ประกาศตอนเย็นๆ ทุกวัน หากขึ้นทีละ 2-3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดง่ายๆ ถ้า 2 เหรียญสหรัฐ ก็เท่ากับกับเทียบเป็นเงินบาท 40 กว่าสตางค์

น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งไม่สามารถควบคุมราคาได้ เพราะไทยนำเข้า 80% ผลิตในประเทศประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน และมีกำลังผลิตในประเทศ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และความต้องการใช้ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่น ฉะนั้น ราคาน้ำมันที่นำเข้า มีการปรับขึ้นปรับลงตามกลไกตลาด

“OR คือเป็นผู้ซื้อมา-ขายไป สูตรราคาที่เราซื้อจากโรงกลั่น บนราคาวันนี้ที่ราคาสิงคโปร์ประกาศ ก็รับซื้อมาบนราคานั้นและเราก็ pass to marketing margin เพราะมีสูตรอยู่แล้ว และบวกค่าการตลาดประมาณ 2 บาทต่อลิตร ซึ่งหากราคาขึ้น เราก็ขึ้นราคา แต่เรามีการปรึกษากับกรมธุรกิจพลังงานทุกครั้ง ไม่สามารถจะขึ้นได้เลย ไม่ใช่อยู่ๆ จะไปขึ้น เพราะกระทรวงพลังงานก็มีการกำกับดูแลเรา เรามีการรรับน้ำมันจากโรงกลั่นทุกวัน ราคาขึ้น ก็สะท้อนราคาขึ้น จะปรับขึ้นเท่าไร ก็ต้องมีการคำนวณ” ดิษทัต กล่าวทิ้งท้าย

ดิษทัต ปันยารชุน
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img