วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightGCชู‘มาบตาพุด’ฮับแห่งเอเชียตะวันออก ‘ดักจับ-กักเก็บ’ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

GCชู‘มาบตาพุด’ฮับแห่งเอเชียตะวันออก ‘ดักจับ-กักเก็บ’ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

GC วางเป้าอัพสัดส่วนผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษให้ถึง 30% ใน 5 ปี ปั้น “มาบตาพุด” ให้เป็นฮับแห่งเอเชียตะวันออก

นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที  โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจาก 1.กำลังผลิตล้นตลาด 2.ผู้เล่นในอุตสาหกรรมมีวัตถุดิบในมือ เช่น กลุ่มตะวันออกกลาง 3.เศรษฐกิจในหลายประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่ประมาณการณ์ โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป และ 4.ภูมิรัฐศาสตร์ที่มีผลต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าวทำให้วงจรขาลงของตลาดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในรอบนี้กินเวลานานกว่าเดิมราว 2 ปีมาแล้วนับจากเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน แม้จะมีสัญญาณกระเตื้องขึ้นในไตรมาส 1 ของปีนี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว

ณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์

ดังนั้น GC จึงต้องเร่งปรับตัวใน 4 ด้านคือ 1.เพิ่มความยืดหยุ่นในการนำวัตถุดิบมาใช้โครงการใหญ่ ได้แก่ การปรับปรุงโรงงานโอเลฟินส์ 2 โครงการ ประกอบด้วย โครงการ Olefins 2 Modification Project (OMP) และ โครงการ Olefins Reconfiguration Project (ORP) 2.ปรับ Portfolio เพื่อมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value) 3.ร่วมกับบริษัท allnex ซึ่งเป็นบริษัทลูกทำผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ (Specialty Chemicals) และ 4.การหาธุรกิจใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

ในส่วนของผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษนั้น มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนให้ถึง 30% ภายใน 5 ปี หรือภายในปี 2573 ซึ่งล่าสุดกำลังทำแผนกับบริษัท allnex ซึ่งมีโรงงานและฐานธุรกิจสารเคลือบผิว (Coating Resins) อยู่ 34 แห่งทั่วโลก คาดว่าภายใน 1 ปีจะมีความชัดเจน โดยจะวางพื้นที่การลงทุนให้ชัดเจนว่าตรงไหนจะเป็นฐานการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ และตรงไหนเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วไป ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยเองเป็นตลาดที่มีศักยภาพ จากประชากรถึง 13,000 ล้านคน ทั้งมีความพร้อม มีการขยายตัว เป็นจุดในการกระจายสินค้าได้ดี จึงนับเป็นทำเลที่มีโอกาสในการขยายการลงทุนในอนาคต

โดยเฉพาะ ในพื้นที่มาบตาพุดที่จะลงทุนด้านนวัตกรรมเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาให้เป็น Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ อย่างผลิตภัณฑ์เคลือบผิวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ บรรจุภัณฑ์ โลหะอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งเคลือบผิวอาคารแบบพิเศษ (Special Decoration) ซึ่งแนวคิดนี้มาจากการที่ allnex ประสบความสำเร็จในการพัฒนา China Hub และขยาย Hub ต่อมายังโรงงาน Mahad รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

ส่วนการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์นั้น GC จะมีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ภายในปี 2593 โดยทำงานร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ใน โครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) ทั้งในการศึกษาเรื่อง Carbon Capture Technology ผ่านการลงทุนใน Corporate Venture Capital (CVC) และการศึกษาโอกาสในการนำไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ (Blue/Green Hydrogen) ไปใช้และพัฒนาโมเดลธุรกิจเพื่อต่อยอดเป็นธุรกิจแห่งอนาคต

ดร.ชญาน์ จันทวสุ

ด้าน ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร GC กล่าวเสริมว่า อยู่ระหว่างการทำงานกับหลายภาคส่วน เพื่อเริ่มทำโครงการ CCS โดยพื้นที่ที่จะดำเนินการเป็นพื้นที่แรกคือ มาบตาพุด เพราะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม แต่ละปีมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานต่างๆ รวมกว่า 10 ล้านตันคาร์บอน ซึ่ง CCS จะเป็นโครงการที่มาช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างดี ซึ่งทำเลเหมาะสมที่จะอัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงชั้นใต้ดินนั้น ควรอยู่ใกลับกับแหล่งอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ GC จะจับมือกับกลุ่มปตท.ทั้งหมดเพื่อลงทุนโครงการนี้ แต่เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ลงทุนสูง และในเอเชียยังไม่มีประเทศใดทำได้ เพราะต้องใช้พื้นที่ และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงคล้ายการขุดเจาะน้ำมัน เพื่อสำรวจหาโพรงขนาดใหญ่ใต้ทะเล และอัดกลับคาร์บอนลงไปเก็บไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องหารือกับภาครัฐเพื่อวางทิศทางการส่งเสริมสนับสนุน เช่น การส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น และอนาคตเราก็สามารถที่จะเป็นผู้ให้บริการกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือแม้แต่ประเทศต่างๆ ในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ช่วยได้ในการทำให้เป็น liquid เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งมายังพื้นที่กักเก็บ โดยปัจจุบันประเทศที่ทำแล้วยังมีไม่มากนัก อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และตะวันออกกลางที่กำลังทำ และโครงการนี้จะมาคู่กับโครงการไฮโดรเจนในภาคอุตสาหกรรมของกลุ่มปตท.เพราะในกระบวนการผลิตไฮโดรเจนมาจากฟอสซิล ดังนั้นเพื่อให้เป็น Blue Hydrogen ต้องใช้เทคโนโลยี CCS มาช่วยให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ได้ตามเป้าหมาย

ขณะที่นายณะรงค์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการทำให้กระบวนการผลิตปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลงแล้ว GC ยังมุ่งทำธุรกิจกลุ่มธุรกิจ Bio และ Green ด้วย โดย GC ถือหุ้น 50% ร่วมกับ Cargill อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (Nakhonsawan Bio Complex : NBC) มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะเป็น Bio Complex แห่งแรกของประเทศไทย ใช้น้ำตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต PLA มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Bio และ Green ของประเทศ ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Material) สู่ตลาดโลก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img