วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเปิดเสรี“ก๊าซระยะ2 รายใหม่” ลุ้นนำเข้าต้องไม่กระทบ “Take Or Pay”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดเสรี“ก๊าซระยะ2 รายใหม่” ลุ้นนำเข้าต้องไม่กระทบ “Take Or Pay”

หลังจากที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2564 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) รายใหม่ที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นั้น

Shipper รายใหม่ยังถูกจำกัดปริมาณการนำเข้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อปริมาณการใช้ก๊าซฯในประเทศ รวมทั้งไม่ให้กระทบต่อภาระ Take or Pay ที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำสัญญาซื้อขายระยะยาวเอาไว้กับผู้ประกอบการในแหล่งก๊าซต่างๆ ทั้งในอ่าวไทย JDA เมียนมา และสัญญาซื้อขายก๊าซ LNG ระยะยาวปริมาณ 5.2 ล้านตันต่อปี

โดยในประเด็นนี้ กพช. ได้มอบหมายให้ ปตท. และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ไปดำเนินการตรวจสอบปริมาณก๊าซฯ ที่ต้องการนำเข้าเพิ่มเติมจากสัญญาที่มีอยู่ของปตท. ว่าจะมีปริมาณเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้กระทบต่อ Take or Pay ซึ่งนอกจากจะต้องพิจารณาปริมาณการนำเข้าในสัญญาระยะยาวของปตท. แล้วก็ต้องพิจารณาความต้องการใช้ไฟฟ้าด้วย

พร้อมกันนี้ กพช.ยังมอบหมายให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิงการซื้อขายก๊าซ LNG สำหรับผู้ประกอบการ Shipper รายใหม่ที่จะนำเข้า LNG เพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมและกิจการของตนเอง ซึ่งขบวนการทั้งหมดต้องเสนอให้ กพช. พิจารณาเห็นชอบก่อน Shipper รายใหม่ถึงจะสามารถเริ่มนำเข้าได้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานกกพ.

“กำหนดหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิง”

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานกกพ. และในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กกพ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิงการซื้อขายก๊าซ LNG ระยะยาวจะต้องใช้เวลาศึกษาพอสมควร เนื่องจากต้องพิจารณาถึงปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซฯจากประเทศเมียนมาร่วมด้วยต้องไม่กระทบกับภาระ Take or Pay ที่ปตท.ทำสัญญาซื้อขายระยะยาวเอาไว้ รวมถึงต้องพิจารณาราคาก๊าซฯด้วยว่ามีความเหมาะสมอย่างไร ซึ่งต้องศึกษาตลาดให้รอบคอบ ส่วนการกำหนดราคาอ้างอิง LNG แบบราคาตลาดจร (Spot) นั้นดำเนินการจัดทำไม่ยากเพราะเป็นการอ้างอิงตามราคาซื้อขายของตลาด Japan/Korea Marker (JKM) ที่ประกาศได้วันต่อวัน

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

“กำหนดหลักเกณฑ์เสร็จไตรมาส3”

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ขั้นตอนในการจัดทำหลักเกณฑ์ราคาอ้างอิงการซื้อขายก๊าซ LNG ระยะยาว และแบบ Spot รวมถึงกฎระเบียบ ตลอดจนการตรวจสอบและการกำหนดปริมาณการนำเข้า LNG ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และปตท. กพช.กำหนดให้ขั้นตลอดทั้งหมดจะต้องแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/2564

ขณะเดียวกัน มติ กพช. ยังมอบหมายให้ กกพ. บริหารความสามารถของ LNG Terminal และทบทวนความเหมาะสมข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติและสถานี LNG แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Regime: TPA Regime) และทบทวนข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติ และสถานี LNG แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Code: TPA Code) ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับที่ผ่านมา กกพ.ได้พิจารณาให้ใบอนุญาตการเป็น LNG Shipper แก่ผู้ประกอบการรายใหม่จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), บริษัท หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จำกัด และ บริษัท บี.กริม แอลเอ็นจี จำกัด และยังอยู่ระหว่างการพิจารณา Shipper รายใหม่เพิ่มอีก 3 บริษัท คือ บริษัท พีทีที โกลบอล แอลเอ็นจี จำกัด (PTTGL) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO คาดว่าเดือนพ.ค. 2564 พิจารณาอนุมัติ ซึ่งหาก กกพ. อนุมัติก็จะส่งผลให้มี Shipper ทั้งหมด 8 รายซึ่งรวมกับ ปตท.ที่เป็นผู้จัดหารายเดิมด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img