วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightกกพ.เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ 3,668 เมกะวัตต์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กกพ.เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ 3,668 เมกะวัตต์

กกพ.เตรียมประกาศรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ปลายปีนี้ 3,668 เมกะวัตต์ ให้สิทธิ์ผู้ประกอบการที่ตกรอบแรกก่อน เปิดรับซื้อจากผู้ประกอบการรายใหม่จริงๆ 1,488 เมกะวัตต์ ย้ำอัตรา FiT เท่าเดิม พร้อมปรับเกณฑ์ใหม่ให้ผู้ฟ้องคดีเสนอขายไฟฟ้ารอบใหม่ได้ ด้านค่าเอฟทีปีหน้ามีข่าวดีหลังแนวโน้มราคาแอลเอ็นจีอ่อนตัว

นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) กล่าวว่า ในปลายปีนี้กกพ.จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) รอบ 2 กำลังผลิตรวม 3,668 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินไม่มีระบบกักเก็บพลังงานร่วม ลม ขยะอุตสาหกรรม และก๊าซชีวภาพ ซึ่งจะให้สิทธิ์กับผู้ยื่นคำเสนอที่ผ่านหลักเกณฑ์ในรอบแรกที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นลำดับแรก ในปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานลม รวมไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ โดยกกพ. จะเรียกผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวมายืนยันความพร้อม ส่วนที่เหลือ 1,488 เมกะวัตต์จะเปิดรับซื้อเป็นการทั่วไป

สำหรับหลักเกณฑ์การรับซื้อในรอบนี้จะปรับใหม่ให้ผู้ที่ฟ้องร้องคดีในรอบแรกสามารถเข้าร่วมยื่นขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบสองได้ ในส่วนของอัตรา FiT เท่าเดิม คือ ก๊าซชีวภาพ 2.0724 บาทต่อหน่วย ลม 3.1014 บาทต่อหน่วย พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินกำลังผลิตตามสัญญาทุกขนาด 2.1679 บาทต่อหน่วย  พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 2.8331 บาทต่อหน่วย

ในส่วนของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จำนวน 22 โครงการ รวม 1,500 เมกะวัตต์ ที่ได้รับคัดเลือกในรอบแรก จนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ เพราะได้รับผลกระทบจากคำสั่งทุเลาของศาลปกครองกลาง โดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) นั้นให้ กกพ. ปรับเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) ออกไปก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้ไม่ให้เกินกรอบภายในปี 2573

ในส่วนของเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบแรก สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 มีผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 175 ราย ปริมาณเสนอขาย 4,852.26 เมกะวัตต์

นายพูลพัฒน์ กล่าวอีกว่า ในการประชุมกกพ.เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา กกพ.มีมติตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ไว้ที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้างวดเดือนก.ย.-ธ.ค.67 ที่เรียกเก็บจากประชาชนอยู่เท่าเดิมที่ 4.18 บาทต่อหน่วย และให้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าจากครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน อัตรา 3.99 บาทต่อหน่วยเหมือนเดิม

สำหรับต้นทุนค่าไฟฟ้าค้างรับสะสม (Accumulate Factor : AF) ที่เกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เข้ามาตรึงค่าเอฟทีในงวดที่ผ่านมานั้น ในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.67 ชำระคืนกฟผ      .ไปได้ ประมาณ 3,200 ล้านบาท เหลือภาระคงค้างรวม 1.1 แสนล้านบาท เป็นภาระในส่วนของกฟผ.95,228 ล้านบาท ซึ่งจะมีการทยอยคืนต่อไป อีกส่วนเป็นมูลค่าส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บตามกรอบนโยบายของคณะรัฐมนตรี และราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง (AFGas) รวม 15,084 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประมาณ 12,000 ล้านบาท และกฟผ.3,000 ล้านบาท โดยมีคณะทำงานที่ประกอบด้วย กระทรวงพลังงาน กกพ. กฟผ. และปตท.ที่จะร่วมกันหารือเพื่อทยอยคืนหนี้ดังกล่าวต่อไป โดยจะนำข้อเสนอที่ให้ทุกภาคส่วนทั้งไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย และโรงไฟฟ้าเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรึงค่าเอฟทีช่วยเหลือประชาชนมาร่วมพิจารณาด้วย

อย่างไรก็ดี แนวโน้มค่าเอฟทีงวดถัดไปเดือนม.ค.-เม.ย.68 มีสัญญาณที่ดี เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มีแนวโน้มลดลง หรือต่ำกว่า 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู อย่างไรก็ตามมีปัจจัยสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ต้องตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนจะตรึงค่าไฟฟ้าเท่าเดิมได้ตลอดทั้งปี 2568 หรือไม่ขึ้นกับหลายปัจจัยโทั้งต้นทุนราคาก๊าซฯ การชำระหนี้คืนให้ กฟผ. และปตท. เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อเครดิตเรตติ้งกฟผ.ด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img