วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 22, 2025
หน้าแรกHighlight‘ปตท.’มุ่งธุรกิจหลัก-ชี้กลยุทธ์ใหม่ถูกทาง สร้างการเติบโตควบคู่ลดก๊าซเรือนกระจก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ปตท.’มุ่งธุรกิจหลัก-ชี้กลยุทธ์ใหม่ถูกทาง สร้างการเติบโตควบคู่ลดก๊าซเรือนกระจก

ปตท.เผยผลประกอบการแข็งแกร่ง มั่นใจกลยุทธ์ใหม่ถูกทาง มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก รักษาเสถียรภาพให้กับธุรกิจ พร้อมดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคคยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 ก.พ.68 คร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการคำเนินงาน ปตท. ปี 2567 ท่ามกลางความท้ายรอบด้าน ทั้งความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ การเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ระลอตัวลง ภาวะเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ความกังวดต่อนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของสหรัอเมริกา และแรงกดดันจากอุปสงค์ที่ลดลงและอุปทานที่มากเกินความต้องการในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี โดยปีที่ผ่านมา ปตท. ดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ใหม่ที่กลับมาเน้นธุรกิจหลัก Hydrocarbon ที่ถนัดและเชี่ยวชาญ ทบทวนกลยุทธ์ Non-Hydrocarbon เน้นธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มี Synergy ในกลุ่ม ปตท. รวมถึงเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายในยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน บริหารต้นทุน ด้วยการทำ Operational Excellence ทั้งกลุ่ม ปตท. นำ digital มาใช้

นอกจากนี้ มุ่งดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทย่อย ปี 2567มีกำไรสุทธิ 90,072 ล้านบาท พร้อมจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2567 ที่ 2.10 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราผลตอบแทนที่ร้อยละ 6.6 และมีส่วนช่วยภาครัฐในการบริหารจัดการต้นทุนในช่วงที่ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นจากสภาวะปกติเพื่อลดผลกระทบให้แก่ประชาชน

คร.คงกระพัน อินทรแจ้ง

ดร. คงกระพัน กล่าวว่า ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง เกิดจากบริหารจัดการและรวมพลังในองค์กร มีกำไรหลักมาจากธุรกิจ Upstream แม้ได้รับผลกระทบจากนโยบายภาครัฐ มาชดเชยกับธุรกิจ Downstream ที่ได้รับความกดดันจากปัจจัยด้านราคา แต่เรื่องสำคัญคือการบริหารต้นทุน และควบคุมค่าใช้จ่ายทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการบริหารรายการพิเศษและบริหารผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและเงินกู้ได้ดี

ทั้งนี้ ในปี 2567 ธุรกิจ Hydrocarbon and Power ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สร้างผลตอบแทนให้กับ ปตท. ประกอบด้วย การลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิต ผ่านบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) โดย ปตท.สผ. สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) จากอ่าวไทยสู่ระดับ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 10 ในโครงการสัมปทานกาชา (Ghasha Concession Project) หนึ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ธุรกิจ LNG มีปริมาณการนำเข้า LNG ทั้งสัญญาระยะยาว และสัญญาแบบ Spot รวม 9.6 ล้านตันต่อปี เพื่อรองรับความต้องการพลังงานในประเทศ ธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย สร้างมูลค่าเพิ่ม 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากความร่วมมือภายในกลุ่ม และโรงกลั่นได้ปรับการผลิตน้ำมันดีเซลให้ใด้มาตรฐานยูโร 5 เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่น PM.2.5 ตามนโยบายของภาครัฐ ธุรกิจไฟฟ้า มีกำลังการผลิตเพิ่มเติม (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) รวมทั้งหมด 15 GM โดยหลักมาจากการลงทุนพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศ

สำหรับธุรกิจ Non-Hydrocarbon ได้ทบทวนกลยุทธ์ เน้นทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่ม ปตท. โดย EV ธุรกิจมุ่งเน้นการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าร่วมกับ OR ที่มีความพร้อมของEcosystom สำหรับ Life Science เป็นธุรกิจที่ดี แต่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยธุรกิจเอง self-funding มีผู้เชี่ยวชาญปีที่ผ่านมารับรู้รายได้จากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัท Alvogen Malta (Out-licensing) Holding Ltd. มูลค่า4,500 ล้านบาท ของบริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด สำหรับ Logistics ออกจากธุรกิจไม่สอดคล้องกับ ปตท.มุ่งเน้นที่สามารถต่อยอดและมี Synergy ภายในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ปตท. มีกลยุทธ์สร้างการเติบโตควบคู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ NET ZERO ผ่านแนวทาง C3 ได้แก่ C1 การปรับพอร์ทธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอน C2 การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาด C3 ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีในการลดก๊าซเรือนกระจก ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage / CCS) รวมถึงเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีทางธรรมชาติผ่านการปลูกป่า

เจตนารมณ์ของ ปตท. ในการขับเคลื่อนองค์กรบนพื้นฐานความยั่งยืนอย่างสมดุล เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ด้วยผลคะแนนอันดับ 1 ด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก (Top 1%) ของกลุ่มอุตสาหกรรม Oil & Gas Upstream & Integrated (OGX) ในรายงานประจำปี “The Sustainability Yearbook 2025” จากการประเมินของ S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) ประจำปี 2024 และได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืน DJSI เป็นปีที่ 13 ติดต่อกัน เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ถึงการเดินทางบนความยังยืน ของ ปตท. นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทเดียวในไทยที่ติดอันดับมูลค่าแบรนด์สูงสุดใน Brand Finance Global 500 และได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Fortune Southeast Asia 500 ให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง



นอกเหนือจากพันธกิจหลักด้านพลังงาน ปตท. ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยสร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ช่วยสังคมอย่างต่อเนื่อง ปีที่ผ่านมาได้เปิดสวนเปรมประชาวนารักษ์ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ และยังเป็นการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โดยรอบให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ปีนี้ยังคงท้าทาย ปตท. มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก ต้องสร้างความแข็งแรงภายในองค์กร ลดความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพให้กับธุรกิจ พิจารณาการลงทุนด้วยความระมัดระวัง พร้อมดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคคยั่งยืน” ดร.คงกระพัน กล่าวในตอนท้าย

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img