วันพุธ, เมษายน 30, 2025
หน้าแรกHighlightค่าไฟลดอีก!งวดพ.ค.-ส.ค.เหลือ 3.98 บ. ‘พีระพันธุ์’ยืนยันมุ่งมั่นปฏิรูปก.ม.พลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ค่าไฟลดอีก!งวดพ.ค.-ส.ค.เหลือ 3.98 บ. ‘พีระพันธุ์’ยืนยันมุ่งมั่นปฏิรูปก.ม.พลังงาน

ค่าไฟลดอีกแล้ว! ลดเหลือ 3.98 บาท งวด พ.ค.- ส.ค. 68 ’พีระพันธุ์‘ ยืนยันมุ่งมั่นปฏิรูปกฏหมายพลังงาน สร้างเสถียรภาพระยะยาวเพื่อคนไทย

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่บูรณาการทำงานร่วมกัน ทำให้สามารถลดอัตราค่าไฟฟ้าลงได้สำเร็จ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ลงเหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ตามประกาศล่าสุดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จากเดิม ที่มติ กกพ. ประกาศราคาค่าไฟรอบ พค – สค 68 ไว้ที่ 4.15 บาท/ หน่วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดเป้าหมายชัดเจนให้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568 ลงเหลือไม่เกินหน่วยละ 3.99 บาท พร้อมมอบหมายให้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำงานร่วมกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการให้ภารกิจการลดค่าไฟครั้งนี้บรรลุตามเป้าหมาย

และได้มอบหมายให้นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กำกับดูแล คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (บอร์ด กฟผ.) และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ลดราคาค่าไฟฟ้าลงตามเป้าหมายดังกล่าว

นอกจากนี้ ครม. ยังมีมติให้ กฟผ. และบอร์ด กฟผ. รวมทั้ง กกพ. ร่วมดำเนินการใน 3 ข้อต่อไปนี้ให้เสร็จภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ ครม.มีมติ ดังนี้

1.หาแนวทางแก้ไขปัญหาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ในรูปแบบการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และรูปแบบการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง (FiT) รวมถึงการแก้ไขเงื่อนไขที่กำหนดให้สัญญาดังกล่าวมีอายุสัญญาต่อเนื่องโดยไม่กำหนดวันสิ้นสุดสัญญาไว้
2.หาแนวทางแก้ปัญหาค่าความพร้อมจ่าย (AP) และค่าพลังงาน (EP) รวมทั้งเงื่อนไขข้อตกลงอื่นในสัญญา PPA จากโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ตามสัญญารับซื้อไฟฟ้าระยะยาว ในทุกสัญญาที่มีเงื่อนไขที่ทำให้ กฟผ. หรือรัฐเสียเปรียบ หรือมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินควร หรือสูงเกินกว่าความเป็นจริง
3.หาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคของข้อตกลงในสัญญารับซื้อไฟฟ้าต่างๆ ที่ทำให้ศูนย์การควบคุมระบบไฟฟ้า (SO) ไม่สามารถบริหารจัดการการสั่งผลิตไฟฟ้าให้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ลดต่ำลงได้

“รัฐบาลมุ่งมั่นดำเนินนโยบายด้านพลังงานอย่างรอบคอบและยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง ในการลดภาระค่าครองชีพ พร้อมเดินหน้าแก้ไขโครงสร้างต้นทุนไฟฟ้า และกฎหมายพลังงานต่างๆ เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้ประเทศในระยะยาว” นางสาว ศศิกานต์​ กล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img