วันพุธ, เมษายน 30, 2025
หน้าแรกHighlightกกพ.แจงเบื้องหลังลดค่าไฟเหลือ3.98บ. ใช้อำนาจดึงเงินส่วนเกิน1.2หมื่นล.มาอุ้ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กกพ.แจงเบื้องหลังลดค่าไฟเหลือ3.98บ. ใช้อำนาจดึงเงินส่วนเกิน1.2หมื่นล.มาอุ้ม

กกพ.เผยเบื้องหลังลดค่าไฟงวดพ.ค.-ส.ค. 68 เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย เหตุใช้อำนาจตามกฎหมาย เรียกคืนเงินส่วนเกินที่ 3 การไฟฟ้าไม่ได้ลงทุนตามแผน 12,200 ล้านบาทมาลดค่าไฟ บรรเทาค่าครองชีพประชาชนจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เลขาฯ กกพ.) เปิดเผยว่า มติที่ประชุมกกพ.วันนี้ประกาศค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (FT) รอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2568  อยู่ที่ 3.98 บาทต่อหน่วย โดยนำเงินเรียกคืนซึ่งผลประโยชน์ส่วนเกินที่รับไป  (Claw Back)  จาก 3 การไฟฟ้าวงเงิน 12,200 ล้านบาท คิดเป็น 0.17 บาท มาใช้ลดค่าไฟฟ้าประจำงวด จากค่าไฟฟ้าที่จะต้องอยู่ที่ 4.1505 บาทต่อหน่วย ซึ่งประกอบไปด้วยค่าไฟฟ้าฐาน 3.7833 บาทต่อหน่วย ค่า FT ประจำงวด 0.1639 บาทต่อหน่วย และคืนหนี้คงค้างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากการตรึงค่า FT ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 0.2033 บาทต่อหน่วย ซึ่งค่าไฟฟ้าในงวดนี้สอดรับกับมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดค่าเป้าหมายของค่าไฟฟ้างวดนี้ไว้ให้ไม่เกิน 3.99 บาทต่อหน่วย

สำหรับเงิน Claw Back มาจากเงินสะสมหลายปีที่ผ่านมาจากการลงทุนที่เกิดขึ้นจริงของ 3 การไฟฟ้าต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น เศรษฐกิจชะลอตัว ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำกว่าประมาณการณ์ เป็นต้น ซึ่งมีเงินสะสมไว้ทั้งหมด 20,000 ล้านบาท โดยกกพ.มีอำนาจตามกฎหมายถเรียกคืนจาก 3 การไฟฟ้าและนำมาใช้ลดค่าไฟ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ประกาศกกพ.ว่าด้วยกรอบหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ข้อ 34 (2) ที่กำหนดว่า “นำมาใช้ลดค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าตามความเหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะวิกฤติที่ส่งผลต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในวงกว้างในระหว่างรอบการกำกับ”  ซึ่งปัจจุบันถือว่าอยู่ในช่วงภาวะวิกฤติจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อค่าครองชีพ จึงสามารถนำเงิน Claw Back มาใช้ในการดูแลประชาชนได้ ส่วนเงิน Claw Back ที่เหลืออีก 7,800 ล้านบาทจะสำรองไว้สำหรับการดูแลค่าไฟฟ้าในระยะต่อไป ซึ่ง กกพ. มองว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังคงผันผวนและมีความไม่แน่นอน

“ เราพยายามหาจุดสมดุลและหาทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งประเมินว่าเศรษฐกิจในตอนนี้อยู่ในภาวะที่ต้องดูแลประชาชน ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ซึ่งเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้ายังผันผวนจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะสนับสนุนฟอสซิลและทำให้ราคาก๊าซฯตลาดโลกต่ำลงได้จริงหรือไม่ ขณะเดียวกันกฟผ.ก็มีภาระหนี้ค้างรับอีก 71,000 ล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องทยอยคืน เพื่อลดภาระทางการเงิน ภาระดอกเบี้ย และดูแลผลกระทบต่อเครดิตเรทติ้งของ กฟผ. ซึ่งหากไม่ทยอยจ่าย เกิดภาระดอกเบี้ยก็จะย้อนกลับมาเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าในอนาคต”

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img