สธ.ประกาศปิด EOC สธ. ไปเฝ้าระวังระดับกรม ด้าน สพฉ. ปรับเกณฑ์ยูเซ็ปต์พลัส รักษาโควิด หลัง 1 ต.ค.นี้ จ่อประกาศ 30 ก.ย. นี้
เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 65 ที่กระทรวงสาธารณสุข รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) แถลงการใช้สิทธิ์เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ กรณีโรคโควิด-19 (UCEP PLUS) ว่า หลังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ค.ค.เป็นต้นไป จึงมีการปรับเกณฑ์ยูปเซ็ปต์ พลัสใหม่ จะปรับลดบางส่วน เช่น ตัดกลุ่ม 608 ไม่มีอาการออก ไม่ถือว่าเข้าเกณฑ์
ส่วนที่เข้าเกณฑ์ อาทิ กลุ่ม 608 บวกภาวะหัวใจหยุดเต้น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น หายใจหอบเหนื่อย หรือระบบทางเดินหายใจรุนแรง หายใจไม่ได้ หรือนำสู่การเสียชีวิตได้ ยังเข้าเกณธ์อยู่ หรือ มีภาวะวช็อค ความดันโลหิตต่ำ จากการติดเชื้อ และเกิดการแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดก็ยังใช้ได้ หรืออาการอื่นที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตโดยเร็ว
“รัฐบาลโดยรองนายกฯ และรมว.สธ. กระทรวงยังเห็นความสำคัญและมีนโยบายแบ่งเยาภาระการเจ็บป่วยฉุกเฉินกรณีโควิดของประชาชนอยู่ ทั้งนี้ จะออกประกาศเกณฑ์ในวันที่ 30 ก.ย. นี้ เพื่อให้ประชาชนทราบและสถานพยาบาลได้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน สามารถสอบถามได้ที่ 02-872-1669” นพ.อัจฉริยะ กล่าว
เลขาธิการสพฉ. กล่าวต่อว่า นับตั้งแต่มีสิทธิ์ยูเซ็ปพลัส เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2565 ตั้งแต่เริ่มมียูเซ็ปต์พลัส มีผู้เข้าสู่ระบบบริการจนถึงปัจจุบัน 383,258 ราย แยกเป็นผู้ป่วยในระบบบัตรทอง 2 แสนราย สิทธิประกันสังคม 1.4 แสนราย สิทธิข้าราชการ 4 หมื่นราย อื่นๆ ประมาณ 3 พันราย โดยในจำนวนทั้งหมดนี้พบว่า เข้าเกณฑ์ 81,304 ราย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนที่ไม่เข้าเกณฑ์ 301,954 ราย ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
ด้าน นพ.วิฑูรย์ อนันตกูล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) กล่าวว่า วันนี้กระทรวงมีคำสั่งปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC)กรณีโรคโควิด-19 หลังเปิดดำเนินการมา 2 ปี 8 เดือน ประชุมทั้งหมด 482 ครั้ง อย่างไรก็ตาม แต่กระทรวงยังดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด พร้อมยกระดับได้อีกครั้งหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง โดยระหว่างนี้ก็จะปรับไปดูแลที่ EOC ระกับกรม โดยกรมควบคุมโรคแทน.