วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“สธ.-สปสช.”นัดถกร่างพระราชกฤษฎีกา-งบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 3 กองทุน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.-สปสช.”นัดถกร่างพระราชกฤษฎีกา-งบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 3 กองทุน

สธ.-สปสช. ตั้งโต๊ะอัพเดตร่างพระราชกฤษฎีกา รวมใช้งบส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 3 กองทุน เปิดให้ปชช.แสดงความเห็น พร้อมหารือนัดพิเศษ 9 มี.ค.นี้ ก่อนชงเข้าครม.

เมื่อวันที่ 8 มี.ค.66 ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงข่าวเรื่องการการจัดสรรงบประมาณส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 3 กองทุน ว่า ที่ผ่านมามีการชี้แจงต่อสาธารณะตลอด รวมถึงชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่อาจจะยังมีประชาชนบางกลุ่มที่รับฟังข้อมูลแล้วยังเกิดความสับสน จึงขอชี้แจงอีกครั้งว่า ประเทศไทยดูแลสุขภาพประชาชนทั้ง 66 ล้านคน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) 48 ล้านคน กองทุนประกันสังคม 12 ล้านคน และกองทุนสวัสดิการข้าราชการด้านการรักษาพยาบาล 6 ล้านคน ซึ่งเรื่องการวินิจฉัย รักษาโรคนั้นไม่มีปัญหาอะไร

ส่วนที่จะมีปัญหาคือเรื่องการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขียนเรื่องนี้ไว้ แต่ประกันสังคม และข้าราชการไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย แต่มีมาตรา 66 ระบุว่าการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสามารถบูรณาการดูแลร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ โดยการออกเป็นพระราชกฤษฎีการองรับประกันสังคม และข้าราชการด้วย

ทั้งนี้ ภาพรวมปี 2566 ภาพรวมงบฯ ดูแล รักษา ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ทั้งสิ้น 204,140 ล้านบาท ในจำนวนนี้กว่า 90% เป็นงบฯ สำหรับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคประมาณ 180,000 ล้านบาท ซึ่งสปสช.มีมาตรการในการกระจายเงินไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะของสำนักงานปลัดสธ.ที่ดูแลประชาชนทั้ง 77 จังหวัด ส่วนนี้ไม่ค่อยมีปัญหา อีก 10 % หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นของบัตรทองประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนที่มีปัญหาและยังเป็นประเด็นที่ยังทำความเข้าใจไม่ตรงกันคืองบฯ สำหรับข้าราชการและประกันสังคม ประมาณ 5 พันล้านบาท

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์

ดังนั้นตามหลักการกฎหมายของสปสช. โดยเฉพาะมาตรา 66 นั้นจะต้องออกพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นกฎหมายระดับรองเพื่อให้สามารถนำงบฯ ตรงนี้มาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ สธ.ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด ดูแลประชาชนทุกสิทธิอยู่แล้ว ส่วนเรื่องเงินจะมาเคลียร์กับสปสช.ทีหลังเอง ดังนั้นประชาชนไม่ได้รับผลกระทบอะไร ส่วนการออกเป็นพระราชกฤษฎีกานั้นอยู่ระหว่างดำเนินการ และเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าทั้ง 3 กองทุนสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งอนาคตหากมีวิวัฒนาการ หรือความจำเป็นต้องรวมกองทุนกันมากขึ้นก็สามารถทำได้

ด้านนพ.จเด็จ ธรรมทัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีกายร่างพระราชกฤษฎีกาสำหรับการใช้งบประมาณส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคออกมาเป็น 6 ฉบับ โดยแบ่งกลุ่มผู้จะได้รับสิทธิ์ 1. ร่างฯ สำหรับผู้ใช้สิทธิ์สวัสดิการข้าราชการ ตามมาตรา 9 ซึ่งมาตรา 9 ยังมีแยกย่อยอีกหลายกลุ่มที่มีกฎหมายเฉพาะของตัวเอง จึงออกมาเป็นกลุ่ม 2 ข้าราชการกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 3 ข้าราชการสังกัดเมืองพัทยา กลุ่ม 4 พนักงานรัฐวิสาหกิจ กลุ่ม 5 องค์กรอิสระ ส่วน กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มผู้ประกันตน ทั้งนี้ได้อยู่ระหว่างการนำร่างฯ ทั้ง 6 ฉบับมาให้ประชาชนแสดงความเห็น ผ่านทางเว็บไซต์ของสปสช. และในวันที่ 9 มี.ค.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนัดพิเศษเร่งด่วน เพื่อพิจารณาก่อนเสนอร่างฯ เหล่านี้ให้รมว.สธ.เพื่อสำเข้าสู่ที่ประชุมครม. ดำเนินการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาต่อไป.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img