วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สธ.”ศึกษาหา“ยีน”ป้องกันติดโควิด-19 ก่อน“พัฒนายา”ปิดทางรับเชื้อสู่ร่างกาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ศึกษาหา“ยีน”ป้องกันติดโควิด-19 ก่อน“พัฒนายา”ปิดทางรับเชื้อสู่ร่างกาย

กรมวิทย์ฯเดินหน้าโครงการตรวจเลือดคนไทย เคยติดเชื้อ-คนยังไม่เคยติด หา “ยีน” เฉพาะป้องกันติดโควิด-19 สู่การพัฒนายาปิดทางด่วนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย 

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.66 นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางสถาบันฯกำลังดำเนินโครงการพิเศษ ในการตรวจเลือดกลุ่มตัวอย่างราวๆ 2,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน และครึ่งหนึ่งไม่เคยติดเชื้อมาก่อน เพื่อหา “ยีน” เฉพาะที่ทำให้บางคนมีการติดเชื้อซ้ำ อาการรุนแรง ฉีดวัคซีนแล้วภูมิไม่ขึ้น และหายีนบางตัวที่ทำให้คนไม่ติดเชื้อ แม้ว่าจะเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก็ตาม โดยโครงการจะสิ้นสุดในปี 2566 จะสามารถวิเคราะห์ผลได้ประมาณปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า  

นพ.สุรัคเมธ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในยุโรปก็มีการศึกษา พบว่าคนที่ติดเชื้ออาการหนักนั้นมียีนที่รับมาตั้งแต่มนุษย์ในสมัยก่อน ส่วนในเอเชียไม่ค่อยมีการศึกษาตรงนี้ และเราก็เริ่มศึกษาตั้งแต่ที่มีการระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร การระบาดที่หลักสี่ กทม.  โดยตรวจเลือดดูว่าใครอาการหนัก ไม่หนักอย่างไร ตอนนี้วิเคราะห์ได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เจอยีนเฉพาะที่ทำให้อาการหนักในคนไทย จึงต้องศึกษาต่อ ซึ่งต่อมามีความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นเมื่อประมาณเดือนส.ค.2565 ส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม พบข้อมูลว่ามียีนที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส แต่ยีนนี้ในบางรูปแบบ ในคนไทยบางคนต่อให้มีการฉีดวัคซีนแล้ว หรือติดเชื้อมาแล้ว แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อซ้ำได้ง่ายๆ ดังนั้นทำให้เห็นว่าปัจจัยที่ทำให้คนติดเชื้อและติดเชื้อซ้ำนั้น นอกจากปัจจัยจากความเปลี่ยนแปลงของเชื้ออยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังอยู่ที่ยีนของแต่ละคนด้วยว่ามีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่า หรือมีโอกาสรุนแรงกว่า 

ส่วนการตรวจคนที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนนั้น ก็เพื่อหายีนบางตัวที่ป้องกันการติดเชื้อ เหมือนกับที่เคยมีการศึกษาในโรคอื่นๆ เช่น เชื้อ HIV ที่พบว่ามียีนกลุ่ม ซึ่งปกติจะจับกับเชื้อ HIV ได้ดี เหมือนเป็นช่องทางด่วนให้เชื้อเข้ามา แต่ยีนมีการกลายพันธุ์ ทำให้คนที่มียีนนี้แม้สัมผัสเชื้อ เช่น สามีภรรยา แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อดังกล่าว และนำมาสู่การพัฒนายารักษาปิดช่องทางด่วนเพื่อไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเชื้อ SARS-CoV-2 ก็เช่นกัน ซึ่งปกติจะมีตัวจับเชื้อ ACE 2 receptor ในทางเดินหายใจ ดังนั้นหากเรารู้ตรงงนี้ ก็เอาไปพัฒนายาปิดช่องทางด่วนการติดเชื้อโควิดได้ หรืออาการไม่หนักได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img