วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเตือน!คุมเข้มป้องกันอาหารทะเลจากญี่ปุ่น หวั่นปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เตือน!คุมเข้มป้องกันอาหารทะเลจากญี่ปุ่น หวั่นปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี

”สภาผู้บริโภค”ชี้ ไทยควรเข้มงวดตรวจสอบและมีมาตรการป้องกันอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น หลังมีข่าวญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วลงทะเล หวั่นกระทบสุขภาพผู้บริโภคในไทย


 
นายภาณุโชติ ทองยัง ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาผู้บริโภค เรียกร้องขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประมง ตื่นตัวเร่งออกมาตรการ และแนวทางการป้องกันและตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น  และประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ผู้บริโภคทราบโดยด่วน หวั่นมีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนกระทบกับสุขภาพผู้บริโภคในไทย

หลังประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคมนี้ แม้จะได้รับการรับรองจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ ว่าน้ำที่ปล่อยมีความปลอดภัย สอดคล้องกับมาตรฐานโลก แต่หลายประเทศ รวมถึงในญี่ปุ่นเองก็ต่อต้าน เพราะเกรงจะมีผลต่อความปลอดภัยของอาหารทะเล และสุขภาพของผู้บริโภค โดยประเทศจีน เกาะฮ่องกง และเกาหลีใต้ ได้ออกมาตรการ งดนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว โดยงดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมีชีวิต แช่แข็ง แช่เย็น อบแห้ง รวมถึง เกลือทะเล สาหร่ายทะเล  แต่ในประเทศไทยยังไม่พบว่ามีหน่วยงานใดออกมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการจัดการความเสี่ยงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวให้ผู้บริโภคทราบ ทั้งที่เป็นประเทศนำเข้าสินค้าประมงจากญี่ปุ่นอันดับต้นๆ

ภาณุโชติ ทองยัง

นายภาณุโชติ ย้ำว่า สารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าจากเหตุภัยพิบัติที่ฟุกุชิมะ เมื่อปี ค.ศ. 2011 หรือ 12 ปีก่อน ทำให้หลายเมือง ถูกกันเป็นเขตห้ามเข้าโดยเด็ดขาด หลังเกิดภัยพิบัติ 4 ปี ยังพบเห็นว่า หลายเมืองยังถูกกันเป็นเขตหวงห้าม บางเมืองถูกทิ้งร้าง และยังเห็นถุงบิ๊กแพคสีดำที่เก็บหน้าดินที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีวางเกลื่อนไร้ที่จัดเก็บ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภัยของสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล และแผ่กระจายแทรกซึมไปในพื้นที่ใกล้เคียงแบบไร้พรมแดน จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงกังวล
 
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมประมง ต้องเร่งออกมาตรการป้องกันตลอดจนแนวทางการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวโดยด่วน โดยเฉพาะการสุ่มตรวจอาหารทะเลที่หน้าด่านและในท้องตลาดที่นำเข้าจากน่านน้ำต่างประเทศ เนื่องจากหวั่นว่าผู้บริโภครับประทานอาหารทะเลปนเปื้อนสารอันตรายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมกับขอให้ประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคทราบด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงและคลายความกังวลของผู้บริโภค กรณีอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสี ที่แม้ไม่เกิดอาการในทันที แต่อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้

สภาผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค#ฟูกูชิมะ #น้ำปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img