วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSคณะอนุฯติดตามฯเชิญ“กรมจัดหางาน-กรมการกงสุล”แจงแผนอพยพแรงงานไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คณะอนุฯติดตามฯเชิญ“กรมจัดหางาน-กรมการกงสุล”แจงแผนอพยพแรงงานไทย

“อนุฯ” ติดตามช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล เรียก “กรมจัดหางาน-กรมการกงสุล” หาแนวทางช่วยเหลือ -แผนอพยพแรงงานไทย พร้อมเยียวยาครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ เผยรัฐบาลอิสราเอลพยายามโน้มน้าวขอแรงงานไทยทำงานต่อ

วันที่ 8 พ.ย.2566 ที่รัฐสภา นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมมาธิการติดตามแรงงานไทยที่รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล เป็นประธานในการประชุมเพื่อติดตามช่วยเหลือแรงงานไทย โดยได้เชิญกรมจัดหางาน และกรมการกงสุลมาให้ข้อมูล ก่อนที่จะเดินทางไปจังหวัดอุดรธานีวันที่ 9 พ.ย.นี้ เพื่อไปเยี่ยมครอบครัวของผู้ที่สูญเสียชีวิตและครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมจัดหางานได้รายงานตัวเลขแรงงานที่เดินทางกลับประเทศ 8,815 คน และมีแรงงานมายื่นคำร้อง รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศแล้ว 6,661 คนโดยพิจารณาสั่งจ่ายกองทุน 2,386 คน เป็นวงเงินกว่า 37 ล้านบาท และทางกระทรวงแรงงานมีคำสั่งให้ลงพื้นที่พบแรงงานมาแล้ว 2,654 คน ในจำนวนนี้สอบถามการช่วยเหลือด้านทำงาน ปรากฎว่ามีคนตอบแบบสอบถามประสงค์ทำงานต่างประเทศ 1,374 คน ประสงค์ทำงานในประเทศ 139 คน และต้องการประกอบอาชีพอิสระ 389 คน ที่เหลือยังลังเลต้องการพักผ่อน สำหรับประเทศที่แรงงานต้องการไปทำงาน หลังจากที่กลับมาจากอิสราเอลบางส่วนต้องการกลับไปทำงานที่อิสราเอล และบางส่วนต้องการไปทำงานที่เกาหลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน ส่วนงานที่ต้องการความช่วยเหลือคืองานภาคการเกษตร พนักงานทั่วไป ช่าง ฝ่ายผลิต พนักงานขับรถ ซึ่งกรมจัดหางานมีตำแหน่งงานรองรับอยู่แล้ว

ขณะที่กรมการกงสุล รายงานว่า สถานการณ์สู้รบยังคงรุนแรงระดมยิงชายแดนฉนวนกาซาและกรุงเทลอาวีฟอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีโซนที่ปลอดภัยเช่น ทะเลทรายอาลาวาที่อยู่ติดกับพรมแดนจอร์แดน โดยทางอิสราเอลยังควบคุมสถานการณ์ได้ ด้วยการเสริมกำลังรบ และการสนับสนุนงบประมาณจากสหรัฐฯกำลังไหลมาที่อิสราเอล ประมาณ 14,000 ล้านเหรียญ ที่จะไปเสริมเรื่องไออ้อนโดม ซึ่งสถานทูตได้จัดเที่ยวบินรับแรงงานไทยแล้ว 35 เที่ยวบินเพื่อรองรับการอพยพคนไทยกว่า 7,000 คน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมดำเนินการแผน 2 ซึ่งอยู่ในช่วงตัวเลขสมดุลของผู้ที่ตัดสินใจที่จะอยู่อิสราเอลต่อ เนื่องจากแรงงานอาจมีความมั่นใจและเคยชินกับสถานการณ์การสู้รบที่เป็นปกติ ขณะเดียวกันมองว่าอิสราเอลคงไม่ยอมเสียหน้า คาดว่าสงครามครั้งนี้ ทางอิสราเอลก็หวงแรงงานไทยซึ่งเป็นแรงงานสำคัญด้านการเก็บพืชไร่ เพราะในเขตที่สู้รบมีฟาร์มจำนวนมาก

“เอกอัครราชทูตไทยได้รับการติดต่อจากผู้ใหญ่ของอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวานนี้รมว.เกษตรของอิสราเอล เชิญทูตไปพบเพื่อสอบถามจำนวนแรงงานไทย เพราะจะต้องคำนวณตัวเลขรายงานสำหรับการชดเชย ที่ใช้แรงงานในประเทศและกำลังทำข้อตกลงกับศรีลังกาที่จะนำเข้าแรงงานจำนวน 10,000 คนแทนที่รายงานไทย สิ่งที่รมว.เกษตรแจ้งทูตไทยคือเรื่องหลักประกันความปลอดภัยของพื้นที่บางส่วนที่รายงานสามารถทำงานได้ เช่นพื้นที่เขตทะเลทรายอาราว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย และทางอิสราเอลหวังให้แรงงานไทยอยู่ ซึ่งแรงงานไทยยังอยู่อิสราเอลอีก 20,000 คน โดยกระจายไปในจุดที่ไม่ใช่เป้าของการโจมตีส ทางอิสราเอลพยายามโน้มน้าวให้ฝ่ายไทยพิจารณาส่งแรงงานไทยกลับ แต่ไทยตอบกลับว่าหาก สถานการณ์กลับไปเป็นปกติแรงงานไทยจะกลับไปแน่เพราะการทำงานที่อิสราเอลรายได้ดี” ตัวแทนกรมการกงสุล กล่าว

ตัวแทนจากกรมการกงสุล เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 พ.ย.มีรายงานว่าอีก 8 ศพจะส่งกลับมาถึงประเทศไทย พร้อมทั้งขอความร่วมมือกรรมาธิการที่เป็น สส. ช่วยประชาสัมพันธ์ประชาชนในพื้นที่ และการไปทำงานในต่างประเทศ ขอให้ไปอย่างถูกกฎหมาย เนื่องจากการไปผิดกฎหมายไม่ได้อยู่สบาย หากป่วยเป็นไข้ก็ไม่สามารถที่จะไปพบแพทย์ได้ และต้องอยู่แบบหลบหลบซ่อนๆ ไม่ปลอดภัย

อย่างไรก็ตามประเทศพันธมิตรที่รวมตัวกันสู้อิสราเอลจะกลายเป็นสงครามหรือไม่ เพราะขั้วตะวันตกกับอิสราเอล โดยมีตัวประกันตัวเป็นยับยั้งความรุนแรง การเจรจาประสานตัวประกันติดต่อผ่านมิตรประเทศ คือการ์ต้า อียิปต์ อิหร่าน เป็นประเทศที่มีสายสัมพันธ์กับกองกำลังที่เกี่ยวข้อง

จากนั้นอนุกรรมาธิการฯได้สอบถามข้อมูลการไปทำงานของแรงงานไทยในอิสราเอลกับข้อมูลตัวเลขที่ไปทำงานจริงกับตัวเลขตรงกันหรือไม่ โดยกรมการจัดหางาน ชี้แจงว่ารายงานที่จะไปทำงานต่างประเทศจะต้องแจ้งกับกรมจัดหางาน 5 วิธีการเดินทาง และข้อมูลมีการเก็บไว้ ทางกรมฯจะรับทราบเฉพาะข้อมูลการเดินทางไปตามสัญญาจ้าง แต่กรณีเดินทางกลับจะไม่ทราบข้อมูลตรงนี้ และอาจทำให้มีการคาดเคลื่อนของข้อมูล

ทั้งนี้กรรมาธิการยังแสดงความกังวลข้อมูลข่าวสารที่มีสื่อรายงานว่า บางส่วนกลายเป็นทหารรับจ้าง โดยจะสอบถามวันนี้ และสอบถามถึงแนวทางการดำเนินการอพยพแรงงานไทยกับประเทศ แนวทางการจงใจแรงงานและการสื่อสารเพื่อให้แรงงานกลับประเทศ และการติดตามช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวแรงงานไทยที่เสียชีวิตแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายโดยมีทายาทร่วมกันเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img