วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSซูเปอร์โพลชี้คนไทย 66% เคยถูกโจรไซเบอร์หลอกลวง “นศ.-พนง.เอกชน”น่าเป็นห่วงสุด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ซูเปอร์โพลชี้คนไทย 66% เคยถูกโจรไซเบอร์หลอกลวง “นศ.-พนง.เอกชน”น่าเป็นห่วงสุด

“ซูเปอร์โพล์” เผยผลสำรวจ เรื่องปรับทัพจับโจรไซเบอร์ พบร้อยละ 66 เคยถูกโจรไซเบอร์หลอกลวง นักศึกษา และพนักงานเอกชนคือกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากสุด

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล (Super Poll) ที่ปรึกษาหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามและในบทบาทผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เปิดเผยผลการศึกษา เรื่อง ปรับทัพจับโจรไซเบอร์ โดยนำผลการศึกษาสำรวจประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวน 1,000 ตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-16 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.0 เคยถูกโจรไซเบอร์หลอกลวงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 34.0 ไม่เคย ที่น่าเป็นห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.6 เคยสูญเสียเงินให้โจรไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ นักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.4 พนักงานเอกชนจำนวนมากหรือร้อยละ 45.3 tข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนมากเช่นกันหรือร้อยละ 42.9 ในขณะที่แม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ เกินว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ 35.1 และรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปกับ เกษตรกรเกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28.0 เคยสูญเสียเงินให้โจรไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ที่น่าพิจารณาคือ วันนี้ได้ข้อมูลรู้พิกัดแล้วว่า ประชาชนในภาคกลางส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.3

กลายเป็นผู้สูญเสียเงินให้โจรไซเบอร์มากที่สุดมากกว่าประชาชนในทุกภูมิภาค ในขณะที่คนกรุงเทพมีผู้สูญเสียเงินให้โจรไซเบอร์น้อยที่สุดคือเพียงร้อยละ 4.6 อาจเป็นเพราะคนกรุงเทพมหานครใกล้ข้อมูลข่าวสารตื่นตัวสูงต่อภัยทางไซเบอร์ในขณะที่ประชาชนภาคอื่น ๆ ได้แก่ ภาคใต้ร้อยละ 28.6 ภาคเหนือร้อยละ 27.7 ภาคอีสานร้อยละ 22.5 ที่เคยสูญเสียเงินให้กับโจรไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

ผศ.ดร.นพดล กล่าวว่า วันนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยราชการอื่น ๆ ปรับทัพจับโจรไซเบอร์ ด้วยกลยุทธ์ที่รวดเร็วฉับไวตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดีระหว่างหน่วยงานราชการ โดยท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายประเสริฐ จันทรรวงทอง และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติห่วงใยต่อความทุกข์เดือดร้อน ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงได้เชื่อมประสานแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนกันอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures) เมื่อประชาชนโดนโจรไซเบอร์ มิจฉาชีพไซเบอร์ หลอกให้โอนเงิน ให้ดำเนินการต่อไปนี้ 1. โทรไปที่ 1441 เพื่ออายัดเงินในบัญชีของคนร้าย 2. อย่าเลิกล้มความตั้งใจจะโทร พยายามโทร 1441 จนติดต่อได้

 3. จะมีเลขประจำตัวที่เป็นปัญหาให้กับผู้เสียหาย ผู้เสียหายต้องจดจำเลขนั้นไว้

4. นำเลขนั้นไปแจ้งที่ระบบ Thaipoliceonline.com

เพื่อนัดหายเข้าไปพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจที่กำหนด

5. ไปพบตำรวจที่เป็นร้อยเวร พนักงานสอบสวน ยืนยันดำเนินการกับเจ้าของบัญชีให้ถึงที่สุด

6. ตำรวจออกหมายเรียกเจ้าของบัญชีมาพบ ถ้าไม่มาก็จะออกหมายจับต่อไป

7. เจ้าของบัญชีจะพยายามติดต่อขอคืนเงินให้ผู้เสียหาย เพื่อผ่อนหนักเป็นเบา

ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายแล้วว่าจะเรียกร้องอะไรจากเจ้าของบัญชีบ้าง มาถึงจุดนี้ เกือบร้อยละร้อยผู้เสียหายจะได้เงินคืน

8. ผู้เสียหายจะยอมถอนแจ้งความหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายว่าจะตัดสินใจอย่างไร

รายละเอียดติดตามได้ทาง https://youtu.be/3vNfdB6_gX4?si=_9wArr6h19LnuDuo นักวิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กล่าวต่อว่า ถึงแม้วันนี้ มีการปรับทัพจับโจรไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ขบวนการโจรไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบที่จะทำร้ายประชาชนและความมั่นคงของชาติ ดังนั้น รัฐบาลโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและคณะผู้บริหารประเทศยังน่าจะพิจารณายกระดับ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะในยุคดิจิทัล ความมั่นคงของชาติ สถาบันหลักของชาติ ผลประโยชน์ชาติ และความปลอดภัยของประชาชน ควรได้รับการปกป้องรักษาด้วยมาตรฐานสากลสูงสุดนำมาตรฐานสากล เช่น NIST ของสหรัฐอเมริกา ISO 27000 ISO31000 และ กฎหมาย GDPR ของยุโรปมาปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทสังคมวัฒนธรรมไทยโดยเร็วที่สุด เพราะไม่ใช่แค่ไล่ตามจับโจรไซเบอร์แต่ใครทำข้อมูลรั่วไม่รอบครอบต้องรับผิดชอบและเยียวยาประชาชนผู้เสียหายด้วยหากทำได้เช่นนี้

ทุกภาคส่วนจะตื่นตัวมีวิธีการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีต่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของประชาชนทุกคน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img