“นิด้าโพล”เผยผลสำรวจประชาขน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้างในปี66 พบปัญหาเศรษฐกิจ ความวุ่นวายทางการเมือง และภัยไซเบอร์ เหนื่อยหน่ายสุดๆของปี 66
เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่าย กับอะไรบ้าง ในปี 2566 ที่ผ่านมา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-20 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความรู้สึกของประชาชนในปี 2566 ที่ผ่านมา
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงความสุขในปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.75 ระบุว่า ค่อนข้างมีความสุข เพราะได้อยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัว มีงานทำ ไม่มีโรค และไม่มีหนี้สิน รองลงมา ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความสุข เพราะ เศรษฐกิจไม่ดราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และเบื่อความวุ่นวายทางการเมือง ร้อยละ 18.63 ระบุว่า มีความสุขมาก เพราะ มีงานทำ สุขภาพแข็งแรง ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลานและคนในครอบครัว ขณะที่บางส่วนระบุว่า เศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น ร้อยละ 10.69 ระบุว่า ไม่มีความสุขเลย เพราะ เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไม่มีงานทำ มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีปัญหาสุขภาพ และร้อยละ 0.07 ระบุว่าไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนเหนื่อยหน่าย ในปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.63 ระบุว่า ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผล ต่อรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ รองลงมา ร้อยละ 25.42 ระบุว่า ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองทั้งในและนอกสภา ร้อยละ 23.13 ระบุว่า ปัญหาภัยไซเบอร์ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การแฮกข้อมูล เป็นต้น ร้อยละ 20.76 ระบุว่า ปัญหาราคาพลังงาน ร้อยละ 20.23 ระบุว่า ปัญหาสุขภาพโรคระบาด ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ร้อยละ 16.03 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 13.89 ระบุว่า ปัญหาอาชญากรรม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยทางธรรมชาติ ร้อยละ 10.61 ระบุว่า ปัญหาความขัดแย้งในสังคม ร้อยละ 9.85 ระบุว่า ไม่เหนื่อยหน่ายกับอะไรเลย ร้อยละ 9.62 ระบุว่า ปัญหาการคอรัปชันในทุกระดับ ร้อยละ 7.56 ระบุว่า ปัญหาการจราจร ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ปัญหากระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 5.19 ระบุว่า ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม ในระบบราชการ ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ปัญหาสงคราม ความขัดแย้งในต่างประเทศ และร้อยละ 0.92 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาการทำงานปัญหาครอบครัว และปัญหาความรัก
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.03 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆตัวอย่าง ร้อยละ 33.21 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.58 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.88 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.24 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ25.88 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.69 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.11 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.22 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.75 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.09 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 4.96 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่าง ร้อยละ 20.31 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.69 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.96 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.35