วันอาทิตย์, กันยายน 8, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘ซูเปอร์โพล’ชี้‘ตร.’ 84.4%ภูมิใจในอาชีพ ‘งานสอบสวน’ภูมิใจน้อยกว่า‘สายงานอื่น’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ซูเปอร์โพล’ชี้‘ตร.’ 84.4%ภูมิใจในอาชีพ ‘งานสอบสวน’ภูมิใจน้อยกว่า‘สายงานอื่น’

‘ซูเปอร์โพล’ เผยผลสำรวจเรื่องเปิดใจตำรวจว่าด้วยการปฏิรูป พบตำรวจ 84.4 เปอร์เซ็นต์ภูมิใจในอาชีพ แต่ในส่วนสายงานสอบสวน ภูมิใจในอาชีพน้อยกว่าสายงานอื่น

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.67 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เปิดใจตำรวจ ว่าด้วยการปฏิรูป กรณีศึกษาตัวอย่างตำรวจทุกสายงานทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 7,402 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18- 20 ก.ค.67 ที่ผ่านมา พบว่า เมื่อสอบถามความภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.4 ภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจน้อยถึงไม่เลย ที่น่าสนใจคือ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างช่วงที่มีข่าวขัดแย้งระหว่างนายตำรวจระดับสูงกับช่วงไม่มีข่าวขัดแย้ง พบว่า ความภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจสูงขึ้นจากร้อยละ 82.9 มาอยู่ที่ร้อยละ 84.4

อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกออกตามสายงานตำรวจ พบว่า สายงานสอบสวนมีความภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจน้อยกว่าสายงานอื่นๆ โดยพบว่า ตำรวจที่ภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจมากถึงมากที่สุดในสายงานสอบสวนมีอยู่ร้อยละ 78.3 สายงานอำนวยการมีอยู่ร้อยละ 80.7 สายงานจราจรมีอยู่ร้อยละ 85.5 สายงานป้องกันและปราบปรามมีอยู่ร้อยละ 86.0 และสายงานสืบสวนมีอยู่ร้อยละ 87.5 ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงการปฏิรูปตำรวจ พบความต้องการของตำรวจที่ระบุ ปฏิรูปตำรวจแล้วต้องสามารถคืนศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจได้แท้จริง เปรียบเทียบระหว่างช่วงมีข่าวขัดแย้งระหว่างนายตำรวจระดับสูง กับ ช่วงไม่มีข่าวขัดแย้ง พบว่า มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 80.9 ในช่วงที่มีข่าวขัดแย้ง มาอยู่ที่ ร้อยละ 89.6 ในช่วงที่ไม่มีข่าวขัดแย้งระหว่างนายตำรวจระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลสำรวจชิ้นนี้ ชี้ให้เห็นว่า ตำรวจมีความภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจมากขึ้นเมื่อไม่มีข่าวขัดแย้งระหว่างนายตำรวจระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและต้องการให้มีการปฏิรูปตำรวจที่สามารถคืนศักดิ์ศรีความเป็นตำรวจได้แท้จริงแต่น่าห่วงที่สายงานสอบ ส่วนมีความภูมิใจและรักในความเป็นตำรวจต่ำกว่าสายงานอื่น

เมื่อศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเชิงลึกพบข้อเสนอแนะที่น่าพิจารณาดังนี้

1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรมีผู้นำหน่วยที่ผ่านงานที่หลากหลายทุกมิติโดยเฉพาะการเข้าถึงประชาชนดูแล ประชาชนระดับพื้นที่ตั้งแต่ระดับสถานีตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาลหรือภูธร กองบัญชาการตำรวจนครบาลหรือภูธร เพราะการเคยมีประสบการณ์เดินเคียงข้างผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนจะทำให้เข้าถึงเข้าใจหัวใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนแท้จริง การสั่งการของผู้นำหน่วยก็จะไม่สะเปะสะปะ ตรงเป้าตรงใจความต้องการของประชาชนและผู้ใต้บังคับบัญชามากกว่า

2) ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งโยกย้ายให้เป็นธรรมและโปร่งใสแท้จริง

3) แก้ไขกฎหมายให้สนับสนุนการทำงานของตำรวจโดยเฉพาะสายงานสอบสวนให้มีประสิทธิภาพผลสัมฤทธิ์และดีต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานสอบสวนให้มากยิ่งขึ้น

4) เพิ่มโอกาสเติบโตในสายงานให้มากขึ้น

5) อื่น ๆ เช่น การจัดโครงการด้านการศึกษา อบรมและพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ

เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีความรู้และทักษะที่ทันสมัย สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจในหน้าที่การงาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และดูแลสวัสดิการ ที่พักอาศัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของข้าราชการตำรวจให้ดียิ่งขึ้น การปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ควรดำเนินการอย่างรอบคอบและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทั้งองค์กรโดยรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและการฟื้นฟูศรัทธาของประชาชนต่อตำรวจ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img