วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightอัพเดทอาการทีมผู้บริหาร"ดิไอคอนกรุ๊ป" ยังเครียดไร้รอยยิ้มคุยระหว่างกันน้อยลง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อัพเดทอาการทีมผู้บริหาร”ดิไอคอนกรุ๊ป” ยังเครียดไร้รอยยิ้มคุยระหว่างกันน้อยลง

‘ราชทัณฑ์’ เผยอาการล่าสุด ทีมผู้บริหาร บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ยังคงเครียด ไม่มีรอยยิ้ม บ่อยครั้ง สนทนาระหว่างกันน้อยลง    

เมื่อวันที่ 19 ต.ค.67 ตามที่ศาลอาญาอนุญาตให้พนักงานสอบสวน บก.ปคบ.ฝากขัง ผู้ต้องหาระดับผู้บริหารบริษัท  ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด จำนวน 18 ราย ฐานความผิดข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” โดยศาลอาญาไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งหมด เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จึงควบคุมตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครและทัณฑสถานหญิงกลาง แล้วนั้น

กรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ผู้ต้องหาทีมผู้บริหารของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด จำนวน 17 ราย ซึ่งรวมถึงนักแสดง 3 ราย ที่ประชาชนให้ความสนใจ ได้เข้าสู่กระบวนการรับตัวคนเข้าใหม่ ตรวจสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อทำประวัติด้านสุขภาพ รวมถึงผู้ต้องขังบางรายที่มีโรคประจำตัว ทางเรือนจำอนุญาตให้ใช้ยาประจำตัวได้ จากนั้นได้เข้าสู่ขั้นตอนการแยกกักตัว 5 วัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และในวันนี้กรมราชทัณฑ์ ได้รับตัวผู้ต้องหาที่เหลืออีก 1 รายคือ นายรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือ บอสพอล ไว้ในการควบคุมของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว โดยทั้ง 18 ราย สามารถพบทนายความ และพบพนักงานสอบสวนทางออนไลน์ได้ และหากญาติประสงค์จะเดินทางเข้าเยี่ยมจะต้องรอให้ครบกำหนดกักโรค ในระยะเวลา 5 วัน หากไม่พบว่ามีการติดเชื้อใดๆ จึงจะสามารถประสานลงทะเบียนจองเยี่ยมญาติได้ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ต้องขังทั้งหมดจะอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด ซึ่งจากการสังเกตอาการพบว่า ยังคงมีอาการเครียด ไม่มีรอยยิ้ม และบ่อยครั้งมีการสนทนาระหว่างกันน้อยลง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกคนเมื่อเข้ามาภายในเรือนจำ เป็นการเปลี่ยนสถานที่และสิ่งแวดล้อม อาจปรับตัวยากต้องใช้ระยะเวลาในการปรับสภาวะจิตใจ ส่วนใหญ่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้บ้าง รับประทานอาหารได้เล็กน้อย

สำหรับประเด็นเรื่องการตัดผมของผู้ต้องขังนั้น ผู้ต้องขังชายระหว่างพิจารณาคดี จะต้องตัดผมรองทรงสูงทุกราย ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ต้องขังเด็ดขาดชาย ส่วนผู้ต้องขังหญิงระหว่างพิจารณาคดีให้ไว้ผมยาวเลยบ่าได้ แต่ให้รวบผมหรือผูกผมให้เรียบร้อย เพื่อรักษาสุขอนามัยที่ดี

นอกจากนี้ เมื่อผู้ต้องขังทั้งหมดครบระยะเวลาการกักโรค ก็จะถูกจำแนกไปยังแดนแรกรับของแต่ละเรือนจำฯ ในส่วนของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จะถูกควบคุมอยู่ที่แดนแรกรับ และทัณฑสถานหญิงกลาง จะเป็นแดนควบคุมระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งทั้งหมดจะใช้เวลาอยู่ในแดนแรกรับของเรือนจำฯ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาตัดสินให้เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาดต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img