วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 14, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเตือนปลายปีพายุ 4 ลูกอาจเข้าถล่มไทย ห่วงอนาคตเกิดน้ำท่วมใหญ่-กรุงเทพจม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เตือนปลายปีพายุ 4 ลูกอาจเข้าถล่มไทย ห่วงอนาคตเกิดน้ำท่วมใหญ่-กรุงเทพจม

“กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา ม.เกษตรศาสตร์ เตือนปลายปีจับตาพายุ4 ลูกอาจเข้าไทย อย่าประมาท ชี้ปี67สภาพอากาศสุดขั้ว- RAIN BOOM เร่งผลักดันโครงการฟลัดเวย์ป่าสัก-อ่าวไทย ระบุอนาคตเกิดน้ำท่วมใหญ่ กรุงเทพจม”

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ศูนย์น้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน จัดเสวนา ”สรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี2567 เตรียมความพร้อมสู่ฤดูแล้งปี2567/2568” โดย นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่าปีนี้เป็นปีเดียวเกิดสามสถานการณ์ มีทั้งแล้งจัด น้ำท่วมหนักๆยังเกิดซ้ำหลายพื้นที่ และหน้าหนาวอาจหนาวรุนแรงกว่าทุกปี จะต้องเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์แปรปรวนแบบนี้ในอนาคตเกิดรุนแรงขึ้นด้วย แต่ยังมีข่าวดีเขื่อนใหญ่ๆเก็บน้ำไว้ได้มาก ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักฯได้น้ำมากกว่า80% ก็ยังห่วงภาคอีสาน เขื่อนลำตะคอง มีน้ำน้อยมาก คาดว่าเดือนธันวาคม เดือนมกราคม น่าจะเจออากาศหนาวมากสถานการณ์ปีนี้เป็นบทเรียนราคาแพง ทำให้จากนี้การคาดการณ์สถานการณ์น้ำ การวิเคราะห์สภาพอากาศ ต้องลงรายละเอียดมากกว่านี้ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก น่าห่วงสถิติเดิมเคยใช้ควรนำมาทบทวนใหม่ เพื่อให้มั่นใจในการบริหารจัดการน้ำ ในอนาคตจะต้องมีข้อมูลน้ำเฉพาะพื้นที่

“ในช่วงนี้ภาคใต้เข้าสู่ฤดูฝนยังมีโอกาสเกิดพายุอีก 4 ลูก แต่พอดีเจออากาศเย็นจากจีน เป็นตัวบล็อคไว้ ซึ่งไม่ควรประมาทเพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ ยังต้องเฝ้าระวังพายุอาจเข้าไทยในช่วงปลายปีถึงต้นปี2568 ส่วนภาคอีสานตอนล่าง โอกาสฝนมาอีกมีน้อยมาก ซึ่งเคยเกิดภัยแล้งรุนแรงที่สุดปี 2522 อันดับสองปี 2562 และปีนี้น่าห่วงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อาจแล้งรุนแรง” นายสมควร กล่าว

ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวว่า ตั้งแต่ต้นปีฝนตก 1,455 มม.ได้ปริมาณน้ำ 7 แสนล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนสามารถกักเก็บ 8 หมื่นกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งทุกปีจะเกิดปัญหาน้ำน้อย ภัยแล้งช่วงเดือนพ.ค.ถึงเดือนส.ค. หากไม่สามารถเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำได้อีก เกษตรกรต้องมีแหล่งน้ำของตนเอง ปรับเปลี่ยนปลูกพืช เพื่อประหยัดการใช้น้ำ เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน เพราะจากนี้ภาวะโลกเดือดจะรุนแรงขึ้น อีกทั้งปัญหากรุงเทพ เสี่ยงสูงจมน้ำ จากการทรุดตัวของพื้นที่ เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลจะต้องลงมือแก้ไขโดยเร็ว เช่น สร้างคลองผันน้ำ ฟลัดเวย์ อุโมงค์ขนาดใหญ่ เป็นระบบผันน้ำอ้อมตัวกรุงเทพ เพราะในอนาคตจะเกิดน้ำท่วมใหญ่แน่นอน

ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กล่าวว่าการบริหารจัดการน้ำต้นกักเก็บน้ำ และมีที่เก็บระหว่างทาง ปลายทางระบายน้ำให้เร็วที่สุด ลำน้ำยมปีนี้จังหวัดสุโขทัยเกิด อุทกภัยสองครั้ง ฝนตกที่จังหวัดแพร่ ลงมาเยอะ 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คนคิดว่าเมื่อน้ำมาเจ้าพระยา มากรุงเทพไหม ซึ่งเป็นเรื่องประชาชนกังวลถามเข้ามาก อยากรู้เส้นทางฝนตกจากไหน ไหลไปไหน ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากต้องให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง

“ประเด็นน้ำท่วม จ.เชียงใหม่ ลงเขื่อนภูมิพล น้ำท่วม จ.น่าน ลงเขื่อนสิริกิติ์ ได้คาดการณ์ไว้ 7 วันล่วงหน้า พร่องน้ำมากไปจะไม่พอใช้หน้าแล้ง ล้นสปิลเวย์เมื่อไหร่กรมชลฯเป็นจำเลยทันที อยากให้ประชาชนเข้าใจ เขื่อนแม่งัด ไม่เก็บน้ำไว้อะไรจะเกิดขึ้นกับเชียงใหม่ น้ำฝนตกภาคเหนือ มีเขื่อนกักเก็บไว้ทั้งหมด ส่วนแม่น้ำยม มีทุ่งบางระกำ หน่วงน้ำไว้ ถ้ามาเกินลงมากรุงเทพ” ดร.ธเนศร์ กล่าว

ดร.ธเนศร์ กล่าวว่า จากสภาพอากาศสุดขั้วทำให้ปริมาณฝนใน 1 ชั่วโมง ฝนตกมากกว่า 100 มม. เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนแม่งัดช่วยกักเก็บน้ำไว้ได้เยอะ ถ้าไม่มีเขื่อนทำอย่างไร รวมทั้งพื้นที่ท่วมซ้ำซาก ตำบลโพงเพง อำเภอบางบาล อำเภอเสนา ทำอย่างไรไม่ให้รับผลกระทบ ในทางวิศวกรรม สามารถหาทางป้องกันได้ สำคัญที่สุดคือรัฐบาล มีแนวคิดอย่างไร ในการแก้ไขเพราะสถานการณ์น้ำวันนี้ฝนไป แล้งมา ต้องคิดต่อเนื่อง และประชาชนกังวลมากขึ้นเห็นน้ำท่วมเชียงใหม่ ก็กลัวว่าน้ำจะมาท่วมกรุงเทพ ซึ่งน้ำฝนทุกหยดผ่านกรุงเทพ ลงอ่าวไทย เมื่อน้ำหลากมา มีที่เก็บ และมีที่ไป ดังนั้นโครงการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มี 9 แผนงาน โดยเฉพาะสร้างฟลัดเวย์ ผันน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ลงอ่าวไทย ต้องเกิดขึ้น เพราะใช้พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา กักเก็บน้ำต่อไปก็เกินศักยภาพ จะเห็นว่าช่วงลำน้ำยมไหลผ่านเมืองสุโขทัย รับน้ำได้ 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผันเข้าทุ่งบางระกำ จนรับน้ำไว้เกินความจุกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร จากที่รับได้ 400 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ตามลุ่มน้ำยมต้องมีแหล่งกักเก็บน้ำ

ดร.ธเนศร์ กล่าวถึงข่าวดีว่า ปีนี้ 4 เขื่อนลุ่มเจ้าพระยา กรมชลประทานได้บริหารจัดการให้กักเก็บน้ำมากที่สุดในรอบ 5 ปี ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางมีน้ำทำนาปรังได้ถึง 7.2 ล้านไร่ ถือว่าปลูกข้าวได้มากที่สุดในรอบ 5 ปีและมีน้ำให้เริ่มฤดูกาลเพาะปลูกในรุ่นถัดไป วันที่ 1 พ.ค.68 รวมทั้งสำรองน้ำไว้จัดสรรช่วงฤดูแล้งหน้าด้วย ชาวนาจะเพาะปลูกได้ 2 รุ่น มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนภาคอีสานตอนล่าง ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำแซะ มีน้อยไว้สำหรับอุปโภค บริโภค จะเริ่มทำนาปรังให้รอฤดูฝนปีหน้า

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img