วันพุธ, ธันวาคม 18, 2024
หน้าแรกHighlightเริ่มแล้ว!!‘สิงคโปร์’สั่ง‘ธนาคาร-ค่ายมือถือ’ รับผิดชอบร่วมกันถ้าลูกค้าถูกตุ๋นออนไลน์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เริ่มแล้ว!!‘สิงคโปร์’สั่ง‘ธนาคาร-ค่ายมือถือ’ รับผิดชอบร่วมกันถ้าลูกค้าถูกตุ๋นออนไลน์

เริ่มแล้ว! สิงคโปร์ให้ ‘ธนาคาร-ค่ายมือถือ’ รับผิดชอบร่วมกัน หากลูกค้าโดนมิจฉาชีพหลอกออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.67 สื่อสิงคโปร์รายงานว่า มาตรการใหม่ของสิงคโปร์ ที่ให้ ‘สถาบันการเงิน-บริษัทโทรคมนาคม’ ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายร่วมกัน หากลูกค้าโดนมิจฉาชีพออนไลน์หลอกนั้น มีผลบังใช้แล้วเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยมาตรการนี้เป็นมาตรการใหม่ในการต่อต้านมิจฉาชีพการหลอกลวงทางออนไลน์ ที่อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นในระบบธนาคาร และการชำระเงินดิจิทัลของสิงคโปร์ เพื่อลดจำนวนผู้เสียหายจากมิจฉาชีพออนไลน์

สิ่งที่ตามมาจากการประกาศดังกล่าวคือ มาตรการที่เรียกว่า “กรอบความรับผิดชอบร่วมกัน” หรือ “เอสอาร์เอฟ” ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็น ส่วนเสริมของมาตรการที่มีอยู่แล้วในการแก้ปัญหามิจฉาชีพออนไลน์

สถาบันการเงินของสิงคโปร์มีเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ 16 ธ.ค. 67 ในการปรับใช้มาตรการดังกล่าว ซึ่ง ‘เอสอาร์เอฟ’ ฉบับสมบูรณ์นี้ ระบุว่า สถาบันการเงินและบริษัทโทรคมนาคมต้องร่วมกันรับผิดชอบความสูญเสียของเหยื่อจากกลลวงออนไลน์ โดยได้ระบุ ‘หน้าที่’ และกำหนดถึง ‘มาตรการที่ชัดเจน’ สำหรับสถาบันการเงินและค่ายมือถือ ที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกัน และหากไม่ปฏิบัติตาม บริษัทมือถือและธนาคาร จะต้องร่วมรับผิดชอบหากเกิดความเสียหายขึ้น

หนึ่งในมาตรการนี้ก็คือ สถาบันการเงินและผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน จะต้องส่ง ‘แจ้งเตือน’ (แบบเรียลไทม์)

กรอบการทำงานดังกล่าว กำหนดหน้าที่ให้กับสถาบันการเงินและบริษัทโทรคมนาคมในการบรรเทาการหลอกลวงทางฟิชชิ่ง (การหลอกหลวงทางออนไลน์) และกำหนดความคาดหวังในการจ่ายเงินชดเชยให้กับเหยื่อการหลอกลวงที่ได้รับผลกระทบ โดยได้นำไปปฏิบัติในวันที่ 16 ธันวาคม 2024

มาตรการนี้ กำหนดให้สถาบันการเงินต้องมีการเฝ้าระวังการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาต ที่ส่งผลให้เงินในบัญชีถูกถอนออกออกรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่า ถ้าหากบัญชีของลูกค้าถูกถอนออกอย่างรวดเร็วจากผู้หลอกลวง สถาบันการเงิน จะต้องสกัดกั้นธุรกรรมดังกล่าว จนกว่าจะสามารถติดต่อลูกค้าเพื่อยืนยันได้ หรือส่งการแจ้งเตือนไปยังลูกค้า และปิดกั้นหรือระงับธุรกรรมดังกล่าวเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

โดยบัญชีที่เข้าข่ายถูกหลอกหลวง คือบัญชีที่มีการโอนเงินออกอย่างรวดเร็ว โดยเป็นการโอนเงินออกในจำนวนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของยอดคงเหลือในบัญชี อย่างน้อย 50,000 ดอลลาร์ขึ้นไป ภายในวันเดียว

ตัวอย่างเช่น ถ้าหากบัญชีของลูกค้าที่มีเงินคงเหลือ 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป และถูกโอนเงินออกมากกว่าครึ่งหนึ่งภายใน 24 ชั่วโมง ธนาคารจะต้องระงับธุรกรรมไว้ จนกว่าจะสามารถติดต่อลูกค้าได้ หรือส่งการแจ้งเตือนไปยังลูกค้า พร้อมกับระงับธุรกรรมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ นาย อัลวิน ตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ว่าการกำหนดค่าให้ธนาคารสามารถบล็อกหรือระงับธุรกรรมบัญชีที่มูลค่าที่ “ต่ำกว่า” 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์นั้น “อาจทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดและมีจำนวนมากเกินไป” ซึ่งจะสร้างความไม่สะดวกให้กับลูกค้าธนาคารส่วนใหญ่ จึงกำหนดบัญชีที่มีมูลค่ามากกว่า 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img