วันอาทิตย์, เมษายน 6, 2025
หน้าแรกHighlightไฟเขียวพ.ร.ก.จัดการแก๊งคอลฯ-ไซเบอร์ ‘ธนาคาร-ค่ายมือถือ’ร่วมรับผิดชอบเหยื่อ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไฟเขียวพ.ร.ก.จัดการแก๊งคอลฯ-ไซเบอร์ ‘ธนาคาร-ค่ายมือถือ’ร่วมรับผิดชอบเหยื่อ


รัฐบาลติดดาบด้วย “พระราชกำหนด” จัดการโจรคอลเซ็นเตอร์และไซเบอร์ ครม. เห็นชอบให้อำนาจเด็ดขาดเจ้าหน้าที่ จับกุม เพิกถอน เพิ่มโทษ ชี้จากนี้เจ้าของแอปฯ ธนาคาร เครือข่ายมือถือ จะลอยตัวว่าไม่เกี่ยวไม่ได้อีกต่อไป คาดเดือนหน้ากุมภาพันธ์นี้บังคับใช้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ตามที่กระทรวงดีอีจะนำเสนอแก้ไขพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยมีเหตุผลความเร่งด่วนตามการชี้แจง ในที่ประชุม ครม. ดังนี้

  • รัฐบาลพบว่าประชาชนยังได้รับความเสียหายเฉลี่ยต่อวัน 60 – 70 ล้านบาท (ก่อนการดำเนินการมาตรการต่างๆ ของ ดศ. ภายใต้ รนรม. ประเสริฐ อยู่ที่ 100 – 120 ล้านบาทต่อวัน) จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการดำเนินการแก้ปัญหานี้
  • พ.ร.ก. ฉบับเดิม พ.ศ. 2566 ยังขาดอำนาจหน้าที่และการกำหนดโทษ หลาย ๆ ประเด็นโดยเฉพาะอำนาจการดำเนินการกับบัญชีม้าบนแพลตฟอร์ม P2P, อำนาจการคืนเงินให้กับประชาชน, และการรับผิดร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ทั้งนี้ พ.ร.ก. ฉบับนี้มีสาระสำคัญ ในการเสนอการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. ฉบับเดิม พ.ศ. 2566 ดังนี้
    1. เพิ่มอำนาจการดำเนินการกับแพลตฟอร์ม P2P ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเพิ่มหน้าที่ให้ telco provider ต้องระงับซิมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเพิ่มหน้าที่การส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีม้าของธนาคารต่าง ๆ ไปยัง ปปง. เพื่อตรวจสอบและคืนเงินให้กับผู้เสียหายได้รวดเร็วมากขึ้นเพิ่มบทลงโทษแพลตฟอร์ม P2P รวมถึงธนาคารที่ไม่ปฏิเสธการเปิดบัญชีของคนร้ายเพิ่มบทลงโทษผู้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มบทลงโทษให้สถาบันทางการเงิน เครือข่ายมือถือ สื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
    นายจิรายุ กล่าวต่อไปว่า นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงการประกาศใช้เป็น พ.ร.ก. ว่า จะสามารถจัดการกระบวนการหลอกลวงที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ในขณะนี้ ได้อย่างไร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้มีความเห็นอย่างไร โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าหาก ครม. พิจารณาแล้วเห็นว่าการกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ย่อมสามารถพิจารณาอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ก. ดังกล่าวได้ ขณะที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. ดีอี รายงานในที่ประชุมว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และจะสามารถป้องกันและปราบปรามได้มากยิ่งขึ้น จากนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการตามที่ ก.ดิจิทัลฯ เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับร่าง พ.ร.ก. ไปพิจารณาปรับรูปแบบ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปประกอบการพิจารณาสำหรับร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้หลัง ครม. เห็นชอบ และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งเลขาธิการกฤษฎีกา ระบุจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน คาดว่าประกาศบังคับใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนหน้านี้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์หรืออาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบกัน เนื่องจากกฎหมายนี้เป็นหนึ่งในมาตรการดำเนินการอีกทั้งยังมีมาตรการอื่นอีก เช่น การทำงานร่วมกับต่างประเทศในการทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่มีฐานที่ตั้งบริเวณชายแดน ถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลครั้งล่าสุดได้นำเสนอเรื่องนี้เป็นรายงานในที่ประชุม ซึ่งทุกประเทศก็เห็นพ้องในการยกระดับร่วมกันและถือว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงในโซเชียล เป็นภัยที่ทุกประเทศต้องตระหนัก จึงต้องทำงานร่วมกัน” นายจิรายุ กล่าว


รายละเอียดเหตุผลการตรา พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 (ฉบับปัจจุบัน) ยังมีมาตรการบังคับทางกฎหมายที่ยังไม่เพียงพอกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยตั้งแต่เดือน ต.ค. 66 – พ.ย. 67 มีจำนวนคดีออนไลน์รวม 402,542 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 42,662 ลบ. เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก.ดิจิทัลฯ จึงเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยเพิ่มมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์และมิจฉาชีพ เช่น

  1. ห้ามการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer Lending (P2P)
    โดยห้ามให้บริการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซีโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์ และให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมีหน้าที่ปฏิเสธการเปิดบัญชีและระงับการให้บริการหรือการทำธุรกรรมกับ ลูกค้าที่มีรายชื่อหรือใช้กระเป้าสินทรัพย์ดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ลดปัญหาการฟอกเงินโดยนำมาเปลี่ยนเป็นเงินสกุลดิจิทัล)
  2. ให้ สนง.กสทช. หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีหน้าที่สั่งระงับการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการชั่วคราวเมื่อพบเหตุอันควรสงสัย
  3. ให้สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือสื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้เสียหาย ที่ถูกหลอกลวงจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หากหน่วยงานดังกล่าวไม่ได้ใช้ความระมัดระวังที่พึงปฏิบัติในวิชาชีพ
  4. ให้อำนาจแก่ คกก. ธุรกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นผู้พิจารณาคืนเงินให้แก่ผู้เสียหาย โดยไม่ต้องรอให้มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลเพื่อพิจารณามีคำสั่งถึงที่สุดก่อน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img