วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightจับตา“สายพันธุ์อินเดีย”มาแรงใน“ไทย” พบแล้ว235ราย-กทม.มากสุด206ราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จับตา“สายพันธุ์อินเดีย”มาแรงใน“ไทย” พบแล้ว235ราย-กทม.มากสุด206ราย

กรมวิทย์ เผยตรวจพบ’’สายพันธุ์อินเดียงงในไทยแล้ว 235 ราย เชื่อมโยงแคมป์คนงานหลักสี่ ขณะที่’’สายพันธุ์แอฟริกาใต้’’กระจุกตัวในอ.ตากใบ ด้าน“นพ.ยง” ย้ำปูพรมฉีดวัคซีนพื้นที่สีแดงถูกต้องแล้ว เหตุระบาดจากเมืองสู่ชนบทลั่น  

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 64 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงข่าวเรื่อง”การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด 19 ในประเทศไทย” ว่า จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวของเชื้อไวรัสที่พบในประเทศไทยจากการระบาดระลอกใหม่จาก 3,964 ตัวอย่าง พบว่า 3,595 หรือ 90% เป็นสายพันธุ์อังกฤษหรือสายพันธุ์อัลฟ่า ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ครองเมืองในขณะนี้

ส่วนสายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้าพบ 235 ราย โดย อยู่ในแคมป์คนงานหลักสี่ กทม. 206 ราย นนทบุรี 2 ราย พิษณุโลก 2 ราย มีความเชื่อมโยงกับแคมป์คนงานหลักสี่ บุรีรัมย์ 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย สมุทรสงคราม  1 ราย ร้อยเอ็ด1 ราย นครราชสีมา 2 ราย สระบุรี 2 ราย ที่น่าห่วงคืออุดรธานี 17 รายจากการรวมกลุ่มบายศรีสู่ขวัญกำลังสอบสวนว่ามีความเชื่อมโยงกับแคมป์คนงานที่หลักสี่หรือไม่  

“ส่วนที่เราซีเรียส และต้องเฝ้าระวังคือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ซึ่งขณะนี้ตรวจพบแล้ว 26 ราย แต่โชคดีที่เรายังพบเฉพาะที่อ.ตากใบ จ.นราธิวาส  นอกจากนี้ ยังเจอสายพันธุ์ B.1.1.524ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สนใจของประเทศเพื่อนบ้าน เจอในนราธิวาสและปัตตานี 10 ราย แต่ยังไม่ใช่สายพันธุ์ที่น่ากังวลต้องจับตาดูข้อมูลเพิ่มเติม’’

ด้าน ศ.กียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั่วโลกพบกว่า 3หมื่นตัว ส่วนในไทยที่กังวลคือสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มเข้ามาแทนสายพันธุ์อังกฤษ เพราะแพร่เร็วกว่าเดิมถึง 40% ขณะเดียวกันยังต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์ท้องถิ่นด้วย มีประมาณ 3 ตัว คือ B.1.524 จากประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ซึ่งยังไม่ได้ถูกจัดในชั้นของไวรัสแต่ก็ต้องเฝ้าระวัง สายพันธุ์ A.6 เคยพบในไทยระยะหนึ่ง แต่สูญพันธุ์แล้ว และ B.1.36.16 ที่พบในการระบาดระลอกที่ 2 ของไทยพื้นที่ปทุมธานีและสมุทรสาคร ซึ่งคนติดเชื้อจะไม่ค่อยมีอาการ ดังนั้นการระบาดระลอกที่ 3 เริ่มชัดว่าไวรัสโควิด-19 แต่ละสายพันธุ์มีเวชปฏิบัติต่างกัน 

“ทั้งนี้ ไวรัสทุกสายพันธุ์จะมีจุดคงอยู่และดับไป ประมาณ 6 เดือนและจะมีสายใหม่ขึ้นมา ซึ่งในอนาคตสายพันธุ์อัลฟ่า อาจถูกเดลต้าแทนที่ได้“ ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าว 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไวรัสนี้จะอยู่กับเราไม่ไปไหน ต้องยอมรับว่าไม่มีทางกำจัดไวรัสตัวนี้ให้หมดไปได้โดยตัวที่แพร่เร็วกว่าจะเข้ามาครองโลกเช่นสายพันธุ์อังกฤษซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้เร็ว เช่นในไทยพอสายพันธุ์อังกฤษเข้ามาสายพันธุ์จีจากเมียนมาก็หายไป ตอนนี้สายพันธุ์อังกฤษพบในไทยกว่า 96% ส่วนสายพันธุ์ลูกผสมนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีการระบาดมาก ดังนั้นต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดหนัก ตอนนี้ยังไม่มี

“ดังนั้นทั่วโลกจึงกังวลสายพันธุ์ใดที่แพร่เร็วกว่าอังกฤษ ก็พบว่ามีสายพันธุ์อินเดียหรือเดลตาเมื่อระบาดเข้าชุมชนจะควบคุมได้ยาก แต่การแพร่เร็วไม่ได้บอกความรุนแรงของโรคที่เห็นว่าในอินเดียน่ากลัว เพราะติดเชื้อกันเยอะ จนล้นระบบสาธารณสุข ทำให้มีคนเสียชีวิตเยอะ “ศ.นพ.ยง กล่าว

ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่ต้องกังวลเพราะมีจุดกลายพันธุ์ที่ทำให้ประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันและวัคซีนลดลงแต่การแพร่ไม่เร็วเท่าสายพันธุ์อังกฤษและอินเดีย อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่เพื่อรองรับเชื้อกลายพันธุ์แล้ว

ศ.นพ.ยง  กล่าวต่อว่า สำหรับฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19สลับชนิดกันนั้น โดยหลักการของวัคซีนนั้นสามารถทำได้ แต่กรณีที่เป็นวัคซีนใหม่เข็มแรกฉีดตัวไหนเข็ม 2 ก็ควรฉีดตัวนั้น ยกเว้นว่าฉีดเข็มแรกแพ้แล้วเข็มที่ 2ค่อยเปลี่ยนชนิดของวัคซีน  ทั้งนี้การเปลี่ยนชนิดวัคซีนจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดเช่นที่ตะวันตกก็มีการศึกษาเรื่องนี้ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีการศึกษามากก่อนจะปรับเปลี่ยนแนวทางการฉีด แต่เป็นการศึกษาในวัคซีนชนิด mRNA กับไวรัลเว็คเตอร์ ก่อนจะให้เปลี่ยนแนวทางการฉีดแต่ของประเทศไทยนั้นมีการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตาย กับไวรัลเวคเตอร์ขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุญาตจากคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อศึกษาในมนุษย์ก่อนจะเปิดรับอาสาสมัครต่อไป ทั้งนี้ต้องเน้นความปลอดภัย เป็นอันดับแรกก่อน ดูการเพิ่มภูมิคุ้มกัน   

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ลักษณะการระบาดที่เป็นทางการของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นั้นเป็นลักษณะระบาดจากเมืองออกสู่ชนบท จึงควรปูพรมฉีดวัคซีนในพื้นที่นะบาดใหญ่ดังนั้นการที่แผนการฉีดวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุขทำดีแล้วในการปูพรมฉีดในพื้นที่สีแดงก่อน อย่างไรก็ตามการตรวจภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีนไม่มีความจำเป็นขอให้เป็นการทำในงานวิจัยเท่านั้นและออกมาเป็นภาพรวมว่าวัคซีนตัวนั้นตัวนี้ออกมาเป็นอย่างไรส่วนใดๆทั่วไปที่อยากรู้ไม่มีความจำเป็นเพราะได้ตัวเลขมาก็ไม่สามารถทำอะไรได้แต่ก็เสียดายเงินทองที่ต้องเสียไปยังไงราคาสูงทำให้เกิดความเข้าใจผิดถ้าได้ผลไม่ถูกต้องบอกว่าได้ผลลัพธ์ขึ้นมาก็จะมาโทษวัคซีนอีก.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img