วันเสาร์, เมษายน 5, 2025
หน้าแรกHighlight‘ชมพูพันธุ์ทิพย์’พืชติดอนุสัญญา‘ไซเตส’ ชี้จะ‘นำเข้า-ส่งออก’ต้องขออนุญาตก่อน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ชมพูพันธุ์ทิพย์’พืชติดอนุสัญญา‘ไซเตส’ ชี้จะ‘นำเข้า-ส่งออก’ต้องขออนุญาตก่อน

“รพีภัทร์” เผยนำเข้า-ส่งออก “ชมพูพันธุ์ทิพย์” ต้องได้รับอนุญาต ชี้เป็นพืชควบคุมภายใต้อนุสัญญาไซเตสที่มีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์พืชป่าและสัตว์ป่าไม่ให้ สูญพันธุ์จากการค้าระหว่างประเทศ

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือที่ได้รับการขนานนามว่าซากุระเมืองไทยได้ถูกเสนอให้ บรรจุไว้ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส บัญชีที่ 2 ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่มีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์พืชป่าและสัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธุ์จากการค้าระหว่างประเทศ

ไม้ต้นกลุ่มชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือ ตะเบบูย่า มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกไปจนถึงเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศเอลซัลวาดอร์ นอกจากคุณค่าทางด้านไม้ประดับแล้ว ไม้ตระกูลนี้ยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมไม้ เช่น งานก่อสร้าง ทำพื้นระเบียง และเฟอร์นิเจอร์ ส่งผลให้มีการตัดไม้เพิ่มขึ้นจนทำให้ไม้กลุ่มนี้มีสถานะใกล้สูญพันธุ์

ดังนั้นในการประชุมสมัยสามัญภาคีอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 19 ณ ประเทศปานามา ประเทศโคลอมเบีย สหภาพยุโรป และปานามา จึงได้เสนอให้บรรจุไม้ตระกูลตะเบบูย่า 3 สกุล ได้แก่ Handroanthus, Roseodendron และ Tabebuia รวมจำนวน 113 ชนิด ไว้ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส บัญชีที่ 2 เพื่อควบคุมการค้าไม้ ในลักษณะไม้ท่อน ไม้แปรรูป แผ่นไม้บาง ไม้อัด และไม้ที่เปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว ส่งผลให้ไม้ตระกูลตะเบบูย่าอยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป  

ส่วนประเทศไทยได้นำไม้ต้นในกลุ่มนี้เข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับ หลายชนิด โดยชนิดที่ได้รับความนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ชมพูพันธุ์ทิพย์ ซึ่ง หม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต ได้นำเข้ามาประมาณปี 2490 นอกจากนี้ยังมี เหลืองปรีดียาธร ซึ่งตั้งชื่อตาม หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล และ เหลืองอินเดีย จัดอยู่ในสกุล Tabebuia แต่ภายหลังจากการศึกษาด้านความสัมพันธ์ทางโมเลกุลนักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็น 3 สกุลดังกล่าว

โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปีจะเป็นช่วงที่ดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานสะพรั่งทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นริมถนน สวนสาธารณะ หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ ทั้งนี้แม้ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์อยู่ภายใต้การควบคุมของอนุสัญญาไซเตส แต่ประเทศไทยไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ของต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ จึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ไม้ตระกูลนี้ถูกบรรจุในบัญชีแนบท้ายของอนุสัญญาไซเตส

อย่างไรก็ตาม ในฐานะประเทศภาคีของอนุสัญญาไซเตสไทยยังคงมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศ ในการควบคุมและกำกับดูแลการค้าไม้กลุ่มนี้ โดยต้องดำเนินการออกหนังสืออนุญาต (CITES Permit) เพื่อใช้ประกอบการนำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันการลักลอบค้าไม้ที่อาจส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชในระดับสากล

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img