วันอังคาร, เมษายน 1, 2025
หน้าแรกHighlightมัดรวมให้แล้วเรื่องต้องรู้หลังแผ่นดินไหว “วิศวกร”ไขรอยร้าวตึกแบบไหนที่ควรหนี!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มัดรวมให้แล้วเรื่องต้องรู้หลังแผ่นดินไหว “วิศวกร”ไขรอยร้าวตึกแบบไหนที่ควรหนี!


“วิศวกร” มัดรวมให้แล้วหลังแผ่นดินไหว รอยร้าวตึกแบบไหนควรเก็บกระเป๋าหนีเพื่อความปลอดภัย

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.68 เพจเฟซบุ๊ก Phattrawut Mungmanee ซึ่งเป็นวิศวกร ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับรอยราวของตึกหลังแผ่นดินไหว โดยระบุว่า มัดรวมเรื่องที่คุณต้องรู้ หลังแผ่นดินไหว รอยร้าวแบบไหนไม่ใช่ละ งงสับสนจะอยู่หรือออกไป ตึกสูง-คอนโด-อาคาร-บ้าน ซ่อมกันยังไงล่ะทีนี้ จาก 84,326.342 คนที่ถามผมมาใน inboxx

ประการที่ 1 รอยร้าวยังไงถึงไม่ปลอดภัย วิ่งสิครับ

เกณฑ์ขนาดรอยร้าว (Crack Width Criteria) : มากกว่า 0.31 – 0.50 มม. เริ่มมีนัยสำคัญ → ถ้าร้าวยาวหรือซ้ำซ้อน → ควรให้วิศวกรตรวจสอบ = เริ่มไม่น่าอยู่ละ…เก็บของสิรออะไร?

ประมาณ 0.21 – 0.30 มม. | ยังพอรับได้ → เฝ้าสังเกต, ควรซีลปิดเพื่อป้องกันน้ำ/ความชื้นเข้า : ถ้าน้ำเข้าจะยิ่งแยก ยิ่งเปื่อย ยิ่งร้าวยิ่งพัง ระวังให้ดี :: 『แนะนำ』: ให้เอาปากกามาร์กไว้ ไม้บรรทัดวัดไว้ เขียนรอยร้าวไว้ ถ้าร้าวเพิ่ม ลามเพิ่ม.. เก็บของสิรออะไร?

ประการที่ 2 สังเกตรอยร้าวเป็นจะเข้าใจเอง

รอยเฉียง รอยทแยง : เกิดจาก แรงเฉือน, ตึกโยก, บิดกันไปเรื่อยๆ

รอยตรง แนวนอน/แนวตั้ง : เกิดจากการทรุดตัวของตึก

ซึ่งมันเกิดจากแรงแผ่นดินไหว (และมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน)

ไม่ใช่แค่คุณที่ไม่มีประสบการณ์ วิศวกร และนิติ รวมทั้งช่างหลายคนก็งงกับมัน เพราะมันเกิดขึ้นหลายๆรอยร้าวพร้อมกัน

ถ้าเจอรอยร้าวแนวเฉียง/ทแยง มากกว่ารอยแนวนอน แนวตั้ง หมายความว่า : ตึกทั้งตึกมันจะส่งแรงรอยร้าวถึงกัน จากการแรงโยกตัวที่เกิดขึ้นในช่วงแผ่นดินไหว ห้องข้างๆส่งผลสู่ห้องข้างๆไปเรื่อยๆ ให้ดูรอยเพื่อนบ้านเป็นหลัก อาจส่งผลถึงเรา

ประการที่ 3 รอยร้าวที่ต้องดูก่อน

ความลึกของรอยร้าว = ลึกถึงแกนผนัง : เริ่มวิบัติ → สวดมนต์สิครับ

ความกว้างรอยร้าว = มากกว่า 5 มม.ถือเป็นรอยวิบัติ → สวดบทสอง

ร้าวในโซนจอดรถ = คนเดินผ่านเยอะ → แผ่เมตตาเพิ่ม

ร้าวในที่สูงร้าวหนัก = ลมแรง ตึกสั่นง่าย → อธิษฐานถึงภพหน้า

สรุป : วิ่งสิเฮ้ยยย…ออกม๊าาาา!!

ประการที่ 4 เห็นว่าไม่ใช่แล้วทำยังไงต่อ?

ห้ามเข้าใกล้พื้นที่รัศมี 5 เมตร จนกว่าจะประเมินโดยวิศวกร (ย้ำวิศวกรนะจ๊ะ ไม่ใช่ช่าง : วิศวกรเขาคำนวณโครงสร้างได้)

ถ้าวิศวกรตรวจ ก็อย่าเสร่อ เข้าพื้นที่ใน 48 ชม (มันจะเพี้ยน)

ความกว้าง(มาก), ลึกมาก ของรอยร้าว = ไม่ดีอยู่แล้ว (มันไม่โกหกหรอก)

อยู่ไกลๆ ไว้เลยครับ ถ้าเจอ

พอรู้ว่า มันไม่ปลอดภัย…จะอยู่เพิ่มแรง เพิ่มน้ำหนักให้มันพังทำไมล่ะครับ

ออกสิครับ ออกไปเถอะครับ ให้คิดว่าบ้านกระดูกกำลังจะหัก จะเติมน้ำหนักทำไม?

ประการที่ 5 แต่งห้องเยอะจนไม่เห็นรอยร้าว

การแต่งบ้านก็เหมือนแต่งหน้าล่ะครับ อยากเห็นรอยร้าวที่แท้ทรู ต้องเอา วอลเปเปอร์ พรม ออกให้หมดครับ, รองพื้นไม่หมด จะเจอผิวจริงได้ยังไง โครงสร้างก็แบบนั้น

การบอกว่าคอนโดไม่แล้ว เพราะไม่เห็นรอย แล้วมี Wall paper ทับอยู่ มีพรมทับอยู่ มีตู้ขวางอยู่..รู้ตัวอีกที อาจอยู่รอยเลื่อนที่ 7 Sky Hell แล้ว ใจถึงๆครับ อย่าคิดว่าห้องเราไม่เป็นไร รื้อออกมาดูรอยร้าวเคลียร์กว่า

ประการที่ 6 ตึกเดียวกันร้าวของเธอคือร้าวของฉัน

เอ่อ..คอนโดนะครับ ตึกนะครับ ไม่ใช่บ้านเดี่ยว มีรั้วกั้น

Hello เพื่อนบ้าน เราเอง ห้องเราไม่ร้าว เราปลอดภัยล่ะ! …มะมะมไม่ใช่นะครับ!!! , เพื่อนร้าว เราก็เสี่ยงเหมือนกัน เพื่อนจะอยู่ด้วยกัน จะทิ้งกันได้ไง

(รอยพังคร่อมหลายห้อง → เป็น failure เชิงระบบ (systemic failure) ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่ง)

ถ้ารอบๆห้องคุณมันร้าว ทางหนีไฟร้าว ลิฟท์ร้าว รอบนอกตึกร้าว ห้องคุณไม่ร้าว ไม่ได้หมายความแซนวิสนี้ จะเป็นแกนตึกที่ปลอดภัย อันนี้ต้องคิดใหม่ครับ จะตัวใครตัวมันไม่ได้ ต้องสังเกตครับ ห้องข้างๆ ร้าวหนัก รอบๆ ร้าวกันทั่วเราไม่ร้าว = เราก็เสี่ยงครับ

..เก็บของสิครับ รออะไร

ประการที่ 7 คอนโดสั่นเป็นทุนแผ่นดินไหวหนุนอีก

ลำพังไม่แผ่นดินไหว ตึกคุณ คอนโดคุณก็สั่นเป็นทุนอยู่แล้ว ลองคิดดูสิครับว่า พอมันเกิดการ Crack มัน เหมือนแก้วร้าว แล้วเรายังเขย่าเหมือนเดิม จะแตกแหกขึ้นไหมครับ

แปลว่า คอนโด และตึกที่ธรรมชาติ มันก็สั่น มันก็เขย่า อาจจะด้วยระบบจอดรถอัตโนมัติ หรือ ความสูงของมัน แรงสั่นจากพื้นทางด่วน แล้วรู้สึกว่า ไม่แผ่นดินไหวมันก็สั่น แล้วเราเจอรอยร้าวหนักอีก …ก็ดูอุ่นใจปลอดภัยดีนะครับ

..เก็บของสิเฮ้ย!

ปiะการที่ 8 เบสิกตรวจรอยร้าวเจอแล้วใช่เลย

-8.1 รอยต่อผนังกับเสา – ร้าวเส้นตรงแนวตั้งใกล้มุม
→ จุดเปลี่ยนวัสดุ, รับแรงไม่เท่ากัน เริ่มรับน้ำหนักมีปัญหา

-8.2 รอยต่อผนังกับพื้น – ร้าวแนวนอนต่ำ ๆ ใกล้บัว
→ ทรุดตัวต่างระดับ หรือ พื้น(slab) เคลื่อนตัว พื้นเริ่มไม่น่าเดินแล้วสินะ

-8.3 ผนังแนวทแยงมุมประตู/หน้าต่าง – ร้าวเฉียง (diagonal) ชัดเจน
→ Weak point จาก ตำแหน่งจุดเปิด (opening)
เปิดประตูก็ระวังนะจ๊ะ

-8.4 มุมวงกบประตู/หน้าต่าง – ร้าวรูปตัว L หรือเฉียงเฉพาะจุด
→ จุดรวมแรง / โครงกรอบยืดหด
เปิดไปเปิดมา นำพาไปสู่ รพ.

-8.5 เพดาน/ฝ้าใต้ท้องคาน – ใช้ไฟฉายส่องเงา
→ สังเกตรอยย่น/บวม = ใช่เลย
-เหม่อมองฟ้า เพดานจ๋า ถล่มลงมาใกล้ดวงตาฉัน
กลับไปดู ข้อที่ 1 ถ้าเกินค่ามาตรฐาน..ก็เอ่อ เจริญพร

ประการที่ 9 รอยร้าว 3 แบบ

ร้าวฉาบผิว (Plaster crack) | ร้าวบาง ไม่ลึก → ปลอดภัย
ร้าวทะลุปูน (Concrete surface crack) → ลดการใช้งาน
ร้าวเชิงโครงสร้าง (Structural crack)ลึก เกิน 2 มม., ต่อเนื่องยาว, เฉียง, ขนานคาน เพื่อนบ้านก็เต็มไปหมด → ถ้าอยู่บทตึกสูง ก็หาพระดีๆสักองค์ คาถาดีๆสักบท ตอนอยู่อาศัย ยิ่งสูงเกิน10-20 ชั้น ก็เอาร่มชูชีพไปด้วยก็ดีครับ

ประการที่ 10 ตำแหน่งรอยร้าวกร้าวหัวใจ

-บริเวณคาน / เสา / ใต้หน้าต่าง → ให้ตรวจการรับน้ำหนัก bearing

-มุมประตู / มุมฝ้า / มุมห้อง → ตรวจจุดอ่อนเชิงโครงสร้าง

-กลางผนัง / พื้นทั่วไป → จุดสะท้อนแรงอาคารของอาคาร เดินแล้วยวบ ก็เตรียมทะลุมิติ (พื้นจะพังเอาสิครับ..อย่าหาเดิน)
พฤติกรรมร้าว

-ร้าวแบบ “เฉียงต่อเนื่อง” จากฝ้า → ผนัง → พื้น → = สัญญาณการเคลื่อนตัวของอาคาร(โยก)

-ร้าวขนานหลายเส้นในแนวเดียวกัน → อาคารเกิด (การส่ายสั่นสะเทือนเฉียงไป/มา)

-ถ้าร้าว “ทะลุห้องต่อห้อง” หรือ “ตรงกับห้องอื่นในแนวตั้ง” → ต้องให้วิศวกรลงตรวจทั้งแนว (เกิดระบบนิเวศของ ข้อ 6)

ประการที่ 11 วิศวกรตรวจงานยังไงไม่ลักไก่ฉัน

ในรอยร้าวทั่วห้อง และอยู่ชั้นสูง (ชั้น 23+ ขึ้นไป)

คาน → เคาะฟังเสียงกลวง / ใช้เครื่อง UTM
= ถ้าเสียงโปร่งหรือมีรอยเฉียง = เสี่ยง… เก็บของสิครับ รออะไร
เสา→เปิดปูนฉาบตรงรอยเฉียง / ตรวจผิว
= ถ้าเสาเปลือกหลุด = ต้องเสริมโครงเหล็ก (เพลินเลยครับ)

พื้น→ ตรวจ deflection / วัดความเอียง
= พื้นทรุดกลางห้อง = ต้องตรวจ slab support (อันนี้ก็ยาวววว)
พฤติกรรมโยกของอาคาร → เกิดรอยร้าวทั่วอาคาร และห้องข้างๆ
ซึ่งต้องผ่านการประเมินประกอบกันว่าจุด Weakpoint
จุดวิบัติของอาคารที่ Crack สูงสุดอยู่ตรงไหน จะส่งผลอย่างไรบ้าง
ซึ่งวิศวกรที่ตรวจ ต้องประเมินได้..และทำจุดรับแรง จุดเสื่อมกำลัง
แบ่ง Zone มาเสนอ ถึงจะหาวิธีแก้ไข หรือ ลี้ภัย (อันนี้ก็ยาววว)

ประการที่ 12 แผ่นดินไหวกับแผ่นดินทรุดมันสร้างรอยร้าวยังไง?

แผ่นดินไหว (Earthquake)
→ แรงสั่นสะเทือน (Lateral Vibration)
→ อาคาร “โยก” → เสา/คาน/ผนังโดนแรงเฉือน (Shear force)→ #รอยเฉียง / #รอยร้าวทะลุ / #ผนังฉีก
“แผ่นดินไหว” น่ากลัวกว่าในระยะสั้น เพราะเกิดแรง “เฉือนฉับพลัน” ต่อคาน เสา ผนัง → เกิด “รอยร้าวเชิงโครงสร้าง” ได้ทันทีภายในวินาทีเดียว
การทรุดตัว (Differential Settlement)
→ ดินอ่อน, น้ำใต้ดิน, น้ำหนักไม่สมดุล
→ อาคาร “เอียง/ทรุด” → คาน/ผนังฉีกแนวดิ่งหรือแนวนอน
→ #รอยแยกแนวตรง / #พื้นแอ่น / #ผนังฉีกขาดแนวตรง
แต่ “การทรุดตัว” น่ากลัวในระยะยาว เพราะสร้าง ความเสียหายแบบค่อยเป็นค่อยไป และทำให้โครงสร้างเสื่อมโดยไม่รู้ตัว
ถ้าแยกรอยร้าวออก ก็จะแยกความเสี่ยงได้
ซึ่งถ้าพบ 2 รอย ก็ Biggo
ก็คือ เกิดรอยร้าวเพราะแผ่นดินไหวก่อน + ดินเกิดการทรุดตัวอีก
= อาคารเสี่ยงพังแบบผสม (Compound Failure)
ซึ่งก็…เก็บของออกจากตึก/คอนโดสิครับ รออะไร!

ประการที่ 13.แบบไหนที่เรียกว่าอยู่ไปก็ไม่ใช่ละพี่

ได้ยินเสียง “ลั่น” ของวัสดุหรือเหล็กในผนัง/พื้น
-พบรอยร้าวที่ “ลึก + ทะลุ + ต่อเนื่องแนวเฉียง”
-ร้าวที่อยู่ตรงแนวเสา, คาน หรือหน้าต่างหลัก
พื้นเอียง หรือ เดินแล้วมีแรงยวบใต้เท้า
พบว่า “ห้องอื่น” ที่อยู่แนวเดียวกัน (ชั้นบน-ล่าง) ก็ร้าวจุดเดียวกัน
ไว้มาเขียนต่อ #เขียนให้ผ่อนคลายได้สาระนะครับอย่าถือสา
แต่เชื่อว่าเป็นประโยชน์ครับ

…………………..
ขอบคุณ เฟซบุ๊กPhattrawut Mungmanee

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img