วันอังคาร, เมษายน 1, 2025
หน้าแรกHighlightชี้สัญญาชัดแม้ตึกถล่มด้วย“เหตุสุดวิสัย” บ.อิตาเลียนไทยต้องรับผิดสร้างใหม่เอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ชี้สัญญาชัดแม้ตึกถล่มด้วย“เหตุสุดวิสัย” บ.อิตาเลียนไทยต้องรับผิดสร้างใหม่เอง

“อัยการธนกฤต” ชี้สัญญาชัด แม้ตึกถล่มจากเหตุสุดวิสัย “กิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทย” ต้องรับผิด สร้างใหม่เอง

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.68 ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความ และกฎหมายพยานหลักฐาน ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า ความรับผิดของผู้รับจ้างกรณีตึก สตง.ถล่ม

กรณีตึกที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ซึ่งมีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์ซีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างจากการเสนอราคาต่ำสุดด้วยวงเงิน 2,136 ล้านบาท ได้ถล่มลงมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 นั้น มีประเด็นเรื่องความรับผิดของผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างที่น่าสนใจ ซึ่งผมขอให้ความเห็นส่วนตัวทางวิชาการเพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ท่านที่สนใจและเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องดังนี้

(ผมขอตั้งสมมติฐานในการเขียนเรื่องนี้ว่า สตง. กับกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์ซีซี ทำสัญญาจ้างก่อสร้างโดยใช้แบบสัญญาจ้างก่อสร้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และในส่วนของเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างนั้นเป็นไปตามแบบเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งเป็นปกติของหน่วยงานของรัฐในการทำสัญญาจ้างก่อสร้างที่จะทำสัญญาตามแบบดังกล่าว โดยการจ่ายเงินค่าจ้างก่อสร้างเมื่อพิจารณาจากเนื้องานแล้วน่าจะเป็นการจ่ายค่าจ้างที่เป็นราคาเหมารวมโดยกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นงวดๆ)

1.กรณีตึกถล่ม ใครต้องรับผิดชอบจ่ายเงินสร้างตึกใหม่

    ตามแบบสัญญาจ้างก่อสร้างข้อ 11 วรรคสอง หากการที่ตึกถล่มลงมาเป็นเพราะความผิดของผู้รับจ้าง รวมทั้งเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยจากการเกิดแผ่นดินไหว แต่หากยังไม่มีการส่งมอบงานครั้งสุดท้าย ผู้รับจ้างต้องรับผิดในการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับจ้างเอง จะเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างเพิ่มเติมจาก สตง. ไม่ได้ เว้นแต่การที่ตึกถล่มพังลงมานั้นเกิดจากความผิดของ สตง. ผู้ว่าจ้าง และตามแบบสัญญาจ้างก่อสร้าง ข้อ 13 กำหนดไว้ว่า ผู้รับจ้างจะมาอ้างเหตุจากการมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ผู้รับจ้างพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ได้ (การก่อสร้างตึกอาคารที่ทำการ สตง. แห่งใหม่ในครั้งนี้มีกิจการร่วมค้า PKW เป็น ผู้ควบคุมงาน)

    2.กรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อคนงานของผู้รับจ้างและบุคคลภายนอก

      ตามแบบสัญญาจ้างก่อสร้างข้อ 12 วรรคสาม กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องทำประกันภัยให้ลูกจ้างทุกคนที่จ้างมาทำงาน และข้อ 11 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ ความเสียหาย หรือภยันตรายใดๆ อันเกิดจากการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและต้องรับผิดในความเสียหายจากการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับจ้าง ดังนั้น คนงานที่ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ก็จะได้รับเงินเยียวยาความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับจ้างทำไว้ให้ และตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ส่วนบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหาย เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

      - Advertisment -spot_imgspot_img
      spot_imgspot_img
      - Advertisment -spot_img
      - Advertisment -spot_imgspot_img

      Featured

      - Advertisment -spot_img
      spot_img
      Advertismentspot_imgspot_img
      spot_imgspot_img