วันเสาร์, เมษายน 19, 2025
หน้าแรกHighlight‘กมธ.อุตสาหกรรม’ชงเพิกถอนสิทธิ BOI บ.ผลิตเหล็กเส้นไร้มอก.ทำตึกสตง.ถล่ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กมธ.อุตสาหกรรม’ชงเพิกถอนสิทธิ BOI บ.ผลิตเหล็กเส้นไร้มอก.ทำตึกสตง.ถล่ม

‘กมธ.อุตสาหกรรม’ ชง ‘กระทรวงอุตฯ’ เพิกถอนสิทธิ BOI ‘บ.ผลิตเหล็กเส้น’ ตกมาตรฐาน ลามทำตึก ‘สตง.’ ถล่ม แนะส่งข้อมูลตรวจสอบวัสดุต่ำกว่ามาตรฐานให้ ‘รัฐบาล’ สอบ

วันที่ 10 เม.ย.2568 เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า กมธ.ฯ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงกรณีปัญหาเหล็กเส้นที่ใช้ในการสร้างอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)แห่งใหม่ 30 ชั้นถล่ม เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ในเหตุแผ่นดินไหวว่า ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ชี้แจงว่า เหล็กที่นำไปตรวจสอบมาจากสุ่มตรวจสอบ 9 รายการ เป็นเหล็กข้ออ้อย และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ผลพิสูจน์ปรากฏว่า ตกสเปค 2 รายการ คือ เหล็กDB20 และ DB32 โดยทางรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ชี้แจงต่อกมธ.ฯ โดยมีข้อกังวลว่าเหล็กที่ใช้ตรวจไม่ใช่เหล็กใหม่ แต่เป็นเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างแล้ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวก่อนอาคารพังถล่ม เหล็กได้ทำหน้าที่รับแรงดึง  ซึ่งเหล็กเมื่อมีการใช้งานไปแล้วอาจมีปัญหาในการตรวจสอบ  กมธ..จึงเสนอแนะว่า ข้อมูลที่จะถูกส่งไปยังคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ตั้งโดยรัฐบาล จึงต้องงเก็บรวบรวมข้อมูลให้รอบคอบรัดกุมเพื่อดำเนินคดีกับผู้ผลิตเหล็กทั้ง 2 รายการนี้

นายอัครเดช กล่าวต่อว่า ขณะที่กรมโยธาธิการและผังเมือง ชี้แจงว่า ก่อนจะมีการก่อสร้าง หน่วยงานก่อสร้างจะต้องตัดชิ้นตัวอย่างไปตรวจสอบ ซึ่งกมธ.จะทำหนังสือขอข้อมูลในส่วนของการควบคุมการก่อสร้างจากกรมโยธาธิการฯด้วย เนื่องจากการก่อสร้างหน่วยงานราชการไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าจะมีการสร้างอาคารเท่านั้น ส่วนที่มีการกล่าวหาในสื่อโซเชียลว่า สมอ. สั่งอายัดเหล็กที่ตกสเปคจากผู้ผลิตเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สตง.ตั้งแต่เดือน ธ.ค.67 นั้น เป็นกระบวนการตรวจสอบควบคุมคุณภาพตามพ.ร.บ.มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยโรงงานดังกล่าวถูกสั่งปิดจากเหตุเพลิงไหม้อยู่ด้วย โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมมีคำสั่งให้โรงงานนี้ต้องปรับปรุงคุณภาพเหล็กให้ได้มาตรฐานก่อนจะจำหน่ายเหล็กได้อีกครั้ง

“ส่วนที่จะผลิตใหม่และจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชน ขอให้ประชาชนมีความมั่นใจว่า หากไม่มีการแก้ไขก็จะไม่สามารถผลิตได้ ขณะที่การเพิกถอนสิทธิประโยชน์การลงทุน (BOI)  กมธ.ได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมเพิกถอนสิทธิ BOI กับบริษัทผู้ผลิตเหล็กนี้ก่อนที่จะมีการเกิดแผ่นดินไหว โดยทางเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ชี้แจงว่า ตามกฎหมายสามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการนั้นละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้ประกอบการได้ละเมิดกฎหมาย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องทำบันทึกไปถึง BOI เพื่อให้พิจารณาถอนสิทธิประโยชน์ จึงอยากให้BOI ได้พิจารณาตามอำนาจหน้าที่”ประธานกมธ.อุตสาหกรรม กล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img