วันจันทร์, เมษายน 14, 2025
หน้าแรกHighlightรัฐบาลหนุนโครงการ“เดินดีไปด้วยกัน” หวัง“ลดเสี่ยงกระดูกหัก”ใน“ผู้สูงอายุ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐบาลหนุนโครงการ“เดินดีไปด้วยกัน” หวัง“ลดเสี่ยงกระดูกหัก”ใน“ผู้สูงอายุ”

รัฐบาลเดินหน้ารับมือสังคมสูงวัย หนุนโครงการ “เดินดีไปด้วยกัน” ลดเสี่ยงกระดูกหักในผู้สูงอายุ

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถิติทางทะเบียนประชากรไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” โดยในปี 2565 จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมีมากถึง 12.1 ล้านคน หรือ 18.3% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการพลัดตกหกล้มที่นำไปสู่ภาวะกระดูกหัก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะกรณี “กระดูกสะโพกหัก” ที่เป็นสาเหตุสำคัญของความพิการและอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึง 30 – 50% ภายใน 1 ปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า จำนวนผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีจำนวน 23,426 ราย และในปี 2568 เพิ่มขึ้นเป็น 34,246 ราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสูงถึง 56,443 รายในปี 2593 ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ

นายคารม กล่าวว่า เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด และภาคีเครือข่าย ได้ดำเนินโครงการ “เดินดีไปด้วยกัน” ซึ่งมุ่งเน้นการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบ “กระเป๋าสุขภาพ” บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และ LINE @NHSO ได้ถูกนำมาใช้ เพื่อติดตามสุขภาพของผู้สูงวัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีของระบบเก็บข้อมูลโครงการต้นแบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบในการเฝ้าระวังและป้องกันกระดูกหักบริเวณรอบข้อสะโพกในผู้สูงอายุไทย และประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างแม่นยำ และวางแผนป้องกันการพลัดตกหกล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผลการดำเนินโครงการในพื้นที่นำร่อง 11 จังหวัด 1 เขต พบว่าอัตราการล้มใหม่และล้มซ้ำ ลดลง 10% อัตราการเสียชีวิต 1 ปีหลังกระดูกสะโพกหักและได้รับการผ่าตัดเหลือเพียง 15% มีผู้สูงอายุเข้าถึงมาตรการประเมินความเสี่ยงและการติดตาม 70% ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการป้องกันและลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่ป้องกันได้ พร้อมย้ำว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศอย่างยั่งยืนในยุคสังคมสูงวัย

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img