วันอังคาร, เมษายน 29, 2025
หน้าแรกHighlightแจงอัปเดต‘ระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ’ รับปาก‘เซลล์บรอดแคสต์’ใช้ได้ในก.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แจงอัปเดต‘ระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ’ รับปาก‘เซลล์บรอดแคสต์’ใช้ได้ในก.ค.นี้

“ปกรณ์วุฒิ” เชิญ 6 หน่วยงานอัปเดตการถอดบทเรียนแจ้งเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รับปากเซลล์บรอดแคสต์ใช้ได้ ก.ค.นี้ ยันเดือนหน้าทดสอบระบบ ให้ข้อสังเกตเรื่องอำนาจสั่งการอนุมัติข้อความแจ้งเตือนภัย หากผู้มีอำนาจไม่อยู่คนในศูนย์ต้องอนุมัติได้

วันที่ 29 เม.ย.2568 ที่รัฐสภา นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมธิการศึกษาแนวทางการจัดทำระบบเตือนภัยแห่งชาติฯ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า กรรมาธิการจัดตั้งมานานแล้ว และทำรายงานเกือบจะสิ้นแล้ว แต่เกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ทำให้กรรมาธิการทุกคนเห็นพ้องกัน ว่าจะขยายระยะเวลานำเหตุการณ์ดังกล่าวมาเป็นกรณีศึกษาที่ใส่ไว้ในรายงาน เพื่อศึกษาว่าในอนาคตระบบเตือนภัยที่มีควรเป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่เหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยในที่ประชุมกรรมการวันนี้จะสอบถามแต่ละหน่วยงานเกี่ยวกับการถอดบทเรียน และสิ่งที่หน่วยงานต้องการการสนับสนุนเพื่อทำให้ระบบเตือนภัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายปกรณ์วุฒิ กล่าวต่อว่า กรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมฯ สภาผู้แทนราษฎร ได้เรียก หน่วยงานมาหารือเกี่ยวกับระบบเซลล์บรอดแคสต์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และค่อนข้างเป็นสัญญาณที่ดีว่าหน่วยงานและรัฐบาล มีความเข้าใจหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ว่าระบบนี้ควรมีโดยเร่งด่วน และหน่วยงานรับปากว่าภายในเดือนก.ค.นี้ใช้ได้ โดยในต้นเดือนพ.ค.จะมีการทดสอบระบบ แต่เป็นระบบเวอชวลอยู่ และมีการหารือกับ Apple แล้ว ในกรรมาธิการมีการตั้งข้อสังเกตไว้ นอกจากเรื่องเทคโนโลยี คือเรื่องกระบวนการสั่งการที่ต้องคล่องตัวต่อให้ส่งข้อความให้ประชาชนภายใน 5-10 วินาที แต่หากกว่าอนุมัติการส่งได้ ต้องผ่านขั้นตอนเยอะแยะ จะทำให้ระบบเตือนภัยมีประสิทธิภาพ ทางหน่วยงานรับปากไปว่ามีการพูดคุยเรื่องนี้ และเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ

”เคยไปดูงานที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เห็นว่ามีปัญหาเรื่องอำนาจการสั่งการ ว่าจะต้องเป็นผู้บริหารระดับศูนย์ที่จะอนุมัติข้อความ หากสมมุติว่าหากท่านเดินทางไปต่างประเทศ จะทำอย่างไร หากจะต้องแจ้งเตือนภัยใน 2-3 นาที ทางหน่วยงานบอกว่ามีการพูดคุยกันในเบื้องต้น ว่าจะขยายกรอบอำนาจตามกฏหมายที่มีอยู่ หรือต้องแก้กฎระเบียบบางข้อที่ไม่จำเป็นต้องผ่านสภา เช่น ติดต่อคนที่หนึ่งหนึ่ง คนที่สอง คนที่สาม หรือระดับผู้อำนวยการหน่วยที่อยู่ในห้องสั่งการ ให้อำนาจโดยชอบธรรมทางกฎหมาย” นายปกรณ์วุฒิกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหน่วยงานที่ เข้าให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการประกอบไปด้วย กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทรัพยากรธรณีสำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ ผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img