กรมการแพทย์ แนะวิธีการรักษาโควิดตามแนวทางหลัก พร้อมศึกษาประสิทธิภาพ “ยาถ่ายพยาธิสัตว์” ในผู้ป่วยกทม.คาดรู้ผล 3-4 เดือนสรุปการใช้ยา
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 64 ที่กรมการแพทย์ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางการรักษาพยาบาลโควิด-19 ด้วยการใช้ยาไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) หรือยาถ่ายพยาธิในสัตว์ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ ว่า กรมการแพทย์ร่วมกับโรงเรียนแพทย์สมาคมโรคติดเชื้อ สมาคมอุรเวช รพ.สังกัดกรมการแพทย์ หารือร่วมกันเพื่อวางแนวทางการรักษาโควิด 19 และมีการทบทวนแนวทางอยู่เสมอ
ล่าสุดได้มีการออกประกาศแนวทางการรักษาโควิด -19 ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 25 มิ.ย. 2564 ระบุเพียงหมายเหตุว่าการใช้ยาไอเวอร์เม็กติน ให้เป็นดุลพินิจของแพทย์ แต่ไม่ใช่คำแนะนำหลัก
สำหรับยาไอเวอร์เม็กตินเป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ ที่ผ่านมาในต่างประเทศ มีการทำการทดลองในหลอดทดลองพบว่ายาไอเวอร์เม็กติน สามารถยับยั้งเชื้อโควิด – 19 ได้ แต่ก็ต้องย้ำว่าการได้ผลดีในหลอดทดลองไม่ได้หมายความว่าจะได้ผลดีเมื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยจริง
ซึ่งมีบางประเทศที่นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 เช่น อินเดีย มีการใช้ระยะเวลาหนึ่ง แต่รัฐออกประกาศยกเลิกการใช้เพราะมีการผลิตยาหลายชนิด ที่มีประสิทธิภาพกว่า หรือที่แอฟริกาใต้ มีการใช้ยาดังกล่าว เพราะไม่มียาฟาวิพิราเวียร์ใช้ แต่ก็ไม่ได้ผลดีกับทุกราย บางรายก็มีอาการแย่ลง ทั้งนี้ยาไอเวอร์เม็กติน ที่ใช้ในการถ่ายพยาธิในสัตว์นั้นจะใช้ 2 วัน
หากนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิดต้องใช้นานกว่านั้นก็มีข้อกังวลเรื่องความเป็นพิษต่อตับเพราะฉะนั้น เราไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการใช้ แต่ให้เป็นดุลพินิจของแพทย์ หากจะให้แนะนำก็ขอให้รักษาตามแนวทางหลัก เน้นการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์
อย่างไรก็คนเพราะคนไข้ไม่ใช่หนูทดลอง การจะออกแนวทางการใช้ต้องมีการศึกษาที่ชัดเจนก่อน ดังนั้น ศ.เกียรติคุณ นพ. ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานที่ปรึกษาโควิดฯ เห็นว่าควรนำเรื่องนี้ศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยมอบให้ ศ.พญ.ยุพิน ศุพุทธมงคล หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เร่งศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการใช้ยาไอเวอร์เม็กติน ในผู้ป่วยจริงในกทม. หลักพันคน ให้แล้วเสร็จภายใน 3-4 เดือน ก่อนมาพิจารณาเรื่องแนวทางการใช้ยาต่อไป
โดยหลักการคือมีการใช้ยาดังกล่าวเปรียบเทียบกับ ยาฟาวิพิราเวียร์ และยาเดิมตามแนวทางการรักษา เบื้องต้นจะใช้ในผู้ป่วยกทม. ในรพ.ศิริราช และรพ.สังกัดกรมแพทย์ ส่วนที่รพ.อื่นๆ หากมีการใช้เพราะฉะนั้น เราไม่ได้ห้ามไม่ให้มีการใช้ แต่ให้เป็นดุลพินิจของแพทย์ แต่หากจะให้แนะนำก็ขอให้รักษาตามแนวทางหลัก เน้นการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ จะต้องรายงานเข้าระบบด้วย.