วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightฟังกันชัดๆ''หมอโอภาส''ยัน'เอกสาร'เป็นเพียงความเห็นทางวิชาการ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ฟังกันชัดๆ”หมอโอภาส”ยัน’เอกสาร’เป็นเพียงความเห็นทางวิชาการ

อธิบดีกรมควบคุมโรค ซัดกลับ “เอกสารปลอม” อ้างที่ประชุม 3 ฝ่ายไม่ฉีดไฟเซอร์หมอ เป็นการตัดแปะไม่ใช่ข้อสรุปที่ประชุม ย้ำผลจากการฉีดจริงในไทย ป้องกันติดเชื้อได้ดีกว่าไม่ฉีด ชี้ “ไวรัส” มีการเปลี่ยนแปลงตลอด

เมื่อวันที่ 5 ก.ค.64 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีการนำเสนอข่าวเอกสารหลุดมีข้อความระบุว่าไฟเซอร์ที่จำมีการบริจาค 1.5 ล้านโดส หากใช้เป็นเข็มที่ 3 ให้บุคลาการแพทย์ด้านหน้า ก็จะถือว่าเป็นการยอมรับว่าวัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ว่า เอกสารที่ออกมาไม่ได้ถือว่าเป็นเอกสารฉบับจริง ที่ประชุมวันนั้นเป็นการประชุมคณะกรรมการวิชาการ 3 คณะ คือ 1.คณะวิชาการในพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2.อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ใน พ.ร.บความมั่นคงด้านวัคซีนของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ 3.คณะทำงานด้านวิชาการวิจัยการฉีดวัคซีน ซึ่งมีคนเข้าประชุมค่อนข้างมาก มีทั้งในห้องประชุมและออนไลน์

ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประชุมก็อยากได้ความเห็นทางวิชาการ โดยที่เราจะมีวัคซีนตัวอื่นเข้ามาในอนาคต เช่น ไฟเซอร์หรืออะไรก็แล้วแต่ ว่าควรจะฉีดให้กลุ่มเป้าหมายอย่างไร อย่างที่ทราบกันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19  นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก วันซีนก็มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกสัปดาห์ ก็ได้มีการเตรียมการล่วงหน้า โดยกลไกคือพอคณะกรรมการชุดนี้ทำเสร็จ ก็จะเสนอต่อคณะกรรมการที่เขาดูแลต่อไป พอคณะที่เป็นทางการได้ความเห็นชอบแล้วจะเสนอศบค.เพื่อทราบและเห็นชอบต่อไป เพราะฉะนั้นจะมีขั้นตอนอยู่หลายขั้นตอน

“เอกสารที่หลุดไปนั้นไม่เรียกว่าเอกสารหลุดแต่เรียกว่าเอกสารที่ไม่จริงเพราะคนที่เขียนสรุปไม่ได้เป็นฝ่ายเลขาของคณะกรรมการการประชุม แล้วถ้าสังเกตดูในเอกสารจะเห็นว่าเหมือนการเขียนอ่านเอาเอง อ่านเอาเรื่อง อะไรประมาณนั้นไม่เหมือนรูปแบบฝ่ายเลขาที่จะสรุปเพราะฉะนั้นยืนยันว่าไม่มีเอกสารหลุดแต่นั่นเป็นเอกสารที่ไม่จริงในการประชุมที่มีคนหลากหลาย ความเห็นก็จะมีอย่างหลากหลาย ใครจะเสนอความเห็นอะไรก็ได้ แต่สุดท้ายจะต้องมีมติของที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมนี้จะเน้นในเรื่องวิชาการ ไม่ได้เน้นในเรื่องของการจัดการและการเอาไปใช้จริง แต่นี่เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ สำหรับคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หรือคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติที่จะเอาไปพิจารณาสั่งการปฏิบัติในภาพรวมของประเทศต่อไป” นพ.โอภาส กล่าว 

อย่างไรก็ตาม ปกติการประชุมเราต้องการความเห็นที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเพราะฉะนั้นกรรมการหรือผู้ที่เข้าประชุมแต่ละคนก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอความเห็นของเขา แต่นั่นไม่ใช่ความเห็นของที่ประชุม ไม่ใช่ความเห็นที่เป็นทางการ เพราะฉะนั้นต้องดูบริบทด้วยว่าเขาพูดอะไร การเอาคำใดคำหนึ่ง ประโยคใดประโยคหนึ่งไปโพสต์อย่างเดียวคิดว่าไม่เป็นธรรมกับผู้เข้าประชุม ทั้งนี้ตอนประชุมตนไม่ได้เข้าประชุมด้วยทั้งหมดเพราะฉะนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าเรื่องนี้มีใครพูดว่าอะไรและโดยมารยาทก็ไม่ควรพูดแต่ยืนยันว่านี่ไม่ใช่เอกสารหลุดแต่เป็นเอกสารที่ไม่จริง เป็นการเอาสไลด์ที่ประชุมไปปะติด ไม่ควรส่งต่อ เพราะไม่ใช้เอกสารจริง

เมื่อถามถึงข้อเท็จจริงในประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค กับวัคซีนไฟเซอร์ นพ.โอภาส กล่าวว่า เรื่องนี้มีการอธิบายไปหลายครั้ง รวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการสัมมนาวิชาการที่มี นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญในด้านระบาดวิทยา นพ.โสภณ เมฆธน ประธานคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 และนพ. นครเปรมศรีก็มีความเห็นตรงกันว่าที่ผ่านมาวัคซีนที่ประเทศไทยใช้ผ่านการรับรองมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และที่มีการใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีก็ทำให้เราสามารถควบคุมการระบาดที่จังหวัดสมุทรสาคร บุคลากรสาธารณสุขที่ฉีดวัคซีนไปแล้วลดการติดเชื้ออย่างเป็นรูปธรรม จากการใช้งานจริง เช่น ภูเก็ต สามารถลดการติดเชื้อได้ 80-90% ที่เชียงรายก็เช่นเดียวกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img