วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSแล้วจะเชื่อใครดี?“ฉีดวัคซีนสลับชนิด” ไทยบอกฉีดได้-WHO เตือนอันตราย!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แล้วจะเชื่อใครดี?“ฉีดวัคซีนสลับชนิด” ไทยบอกฉีดได้-WHO เตือนอันตราย!!

งงในงง “หมอหนู” แถลงฉีดวัคซีนสลับชนิดได้ โดยยกเลิกฉีดซิโนแวคเข็มที่ 2 แต่ให้ไปฉีดแอสตร้าฯแทน แต่ “องค์การอนามัยโลก” เตือนให้ระวังผลกระทบและอันตรายหากฉีดวัคซีนผสมสูตร “อดีตกุนซือบิ๊กป้อม” ถาม “แล้วจะเชื่อใครดี?”

กรณีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข แถลงเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า “คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ” มีมติเห็นชอบให้ฉีดวัคซีนสลับชนิด เข็มที่ 1 เป็น “ซิโนแวค” เข็มที่ 2 เป็น “แอสตร้าเซนเนก้า” มีระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันสูง ป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) โดยมอบหมายให้รพ.ต่างๆ ดำเนินการได้ทันที เพื่อให้เกิดประโยชน์กับบุคลากรด่านหน้า พร้อมกันนี้ยังมีมติรับทราบให้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 แก่บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าที่เคยฉีดซิโนแวค ครบ 2 เข็มไปแล้ว เนื่องจากมีข้อมูลว่า การใช้วัคซีนบบู๊สเตอร์โดสต่างชนิดนั้น สามารถกระตุ้นภูมิได้สูงขึ้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 นายไพศาล พืชมงคล เลขาธิการสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) แสดงความเห็นว่า “ด่วน…องค์การอนามัยโลกเตือนผลกระทบและอันตรายจากการฉีดวัคซีนผสมต่างชนิด ทว่า เมื่อวานได้มีการแถลงถึงการตกลงใจ ให้ใช้วัคซีน 2 ชนิด แล้วจะเชื่อใครดี?”

กรณีดังกล่าวที่นายไพศาลระบุนั้น เกิดขึ้นเมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย บริจาควัคซีนโควิด-19 ของตนเองให้กับประเทศยากจน แทนที่จะเดินหน้าทำการฉีดวัคซีนกระตุ้น (Booster) ซึ่งยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การฉีดเข็มที่ 3 คือสิ่งจำเป็นในเวลานี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งเตือนว่า การฉีดวัคซีนผสมสูตรนั้นอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้รับยาได้

ซึ่งจากการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา “เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส” ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าวตำหนิประเทศร่ำรวยทั้งหลายที่มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรในอัตราที่สูงแล้ว รวมทั้งบริษัทยา ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอร์นา (Moderna) ผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ ในช่วงที่ประเทศอีกจำนวนมากยังขาดแคลนวัคซีนแม้สำหรับบุคลากรด้านสาธารณสุขและกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูง ข้อมูลปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า “การฉีดวัคซีนครบโดสนั้นจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านการอาการป่วยโควิด-19 ที่รุนแรงและถึงแก่ชีวิต ให้กับตัวผู้รับไปได้อีกนาน” ดังนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนในตอนนี้ต้องเป็นการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดแม้แต่เข็มเดียวมากกว่า

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า “โซมญา สวามินาธาน” หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของ WHO แนะนำว่า ไม่ควรมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผสมสูตรให้กับประชาชน เนื่องจากจะเป็นการก่อ “เทรนด์อันตราย” เพราะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพในการดำเนินการดังกล่าว สถานการณ์ในบางประเทศอาจจะมีความวุ่นวายมากขึ้น หากประชาชนมีโอกาสที่จะเลือกว่าจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ได้เมื่อไหร่ และจะใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใด

อย่างไรก็ตาม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “โควิด 19 วัคซีน การศึกษาวิจัยนำไปสู่การปฏิบัติจริง การสลับชนิดของวัคซีน” ตอนหนึ่งระบุว่า แน่นอนการศึกษานี้ ฝรั่งไม่ทันแน่นอน เพราะฝรั่งไม่ได้ใช้วัคซีนเชื้อตาย และจีนก็ไม่ได้ใช้วัคซีนไวรัสเวกเตอร์อย่างกว้างขวางในขณะนี้ ข้อมูลขณะนี้ผมมีเป็นจำนวนมาก มากพอที่จะสรุป เพราะทุกท่านให้ความร่วมมือดีมาก รวมทั้งอาสาสมัครที่อยู่ในการศึกษา เป็นจำนวนมาก ผมต้องขอขอบคุณอย่างยิ่ง

ข้อดีที่ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุขยอมรับ และนำมาปรับใช้ในเชิงนโยบายจากการศึกษานี้

1.ทำให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนได้ภูมิต้านทานที่สูงภายในเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งเร็วกว่าการให้วัคซีนไวรัสเวกเตอร์ในประเทศไทยที่จะได้ภูมิต้านทานสูง ต้องใช้เวลา 12 สัปดาห์ เหมาะสมกับการที่โรคกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ซึ่งเรารอไม่ได้

2.เป็นการปรับใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ขณะนี้ที่จำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุด

3.การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย virus Vector สามารถทำได้ให้เกิดภูมิต้านทานที่สูงมาก โดยไม่ต้องรอวัคซีนชนิดอื่น เพื่อประโยชน์ของบุคลากรทางการแพทย์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img