วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightมติกก.วัคซีนฯไฟเขียวปี 65 จัดหาวัคซีน 120 ล้านโดส แบบไม่จำกัดประเภท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มติกก.วัคซีนฯไฟเขียวปี 65 จัดหาวัคซีน 120 ล้านโดส แบบไม่จำกัดประเภท

กก.วัคซีนฯเคาะกรอบการจัดหาวัคซีนปี 65 รวม 120 ล้านโดสทุกรูปบบ ทั้ง mRNA ไวรัลเว็คเตอร์ โปรตีนซับยูนิต พร้อมกำหนดสัดส่วนส่งออกวัคซีนโควิดออกนอกราชอาณาจักร 

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.64 ที่กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์ ว่า ที่ประชุมมีวาระการพิจารณาสำคัญ 2 วาระ 1. เห็นชอบกรอบจัดหาวัคซีนสำหรับคนไทย ปี 65 จำนวน 120 ล้านโดส การจัดหาทั้ง mRNA, ไวรัลเวคเตอร์ และโปรตีนซีบยูนิต และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับการระบาด และจำนวนซับพลายของวัคซีน และให้คำนึงถึงวัคซีนที่ตอบสนองต่อการกลายพันธุ์ในอนาคต เพื่อเป้าหมายฉีดให้เพียงพอต่อผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีน และการฉีดกระตุ้นภูมิฯ ในระยะถัดไป รวมถึงใช้สำหรับการระบาดด้วย นอกจากนี้ยังมีมติให้กรมควบคุมโรค และสถาบันวัคซีนฯ  เร่งจัดหาของปี 64 ให้ได้ 100 ล้านโดส

นอกจากนั้นที่ประชุมได้ยังการพิจารณาร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้มาตรา 18 แห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ 2651 ในการกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนนอกราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว

FB /กระทรวงสาธารณสุข

เมื่อถามถึงสัดส่วนที่จะอนุญาตให้ส่งออกได้ ถึงขั้นต้องนำเอาทุกขวด ทุกล็อตที่ผลิตในไทยใช้ในประเทศไทยก่อนหรือไม่ นพ.นคร กล่าวว่า เรื่องทั้งนี้มติเป็นการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น ส่วนเนื้อหานั้นให้ฝ่ายเลขาไปทบทวนผลกระทบด้านต่างๆ อย่างรอบคอบ ระหว่างนี้ให้เจรจากับผู้ผลิตเพื่อให้ดำเนินการเรื่องการส่งมอบต่อไป เมื่อถามถึงสัดส่วนการใช้แอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทย และสัดส่วนการส่งออกในปัจจุบัน นพ.นคร กล่าวว่า ทั้งนี้ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตในถูกใช้ในประเทศ ส่วน 2 ใน 3 ของกำลังการผลิต

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ประชุมมีการพิจารณาหรือหารือถึงข้อเสนอที่ท่านนายกรัฐมนตรี กำชับให้มีการพิจารณาคำเตือนขององค์การอนามัยโลกหรือไม่  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าวันนี้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติไม่มีการพิจารณาเรื่องนี้ แต่จะมีคณะกรรมการวิชาการตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 จะพิจารณาในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน แต่ต้องย้ำว่า องค์การอนามัยโลก ได้ออกประกาศเรื่องนี้ค่อนข้างยาว การไปตัดท่อนใดท่อนหนึ่งก็จะเกิดปัญหาได้ แต่ภาพรวมองค์การอนามัยโลกเห็นว่า ถ้าหน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศ  มีข้อมูลวิชาการในการสนับสนุน ในการเลือกใช้วัคซีนแบบใดแบบหนึ่ง ก็สามารถดำเนินการได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของแต่ละประเทศ.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img