วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ซูเปอร์โพล''ชี้เด็กเครียดเรียนออนไลน์และต้องการฉีดวัคซีน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ซูเปอร์โพล”ชี้เด็กเครียดเรียนออนไลน์และต้องการฉีดวัคซีน

”ซูเปอร์โพล’”เผยกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาต้องการวัคซีนระดับสูง เหตุเครียดไม่ได้ออกนอกบ้าน แนะจัดจิตแพทย์ให้คำปรึกษาและเปิดช่องทางรวมกลุ่มช่วยเหลือสังคมผ่านการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียสร้างสรรค์

เมื่อวันที่ 25 ก.ค.64ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง มาตรการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนด้านการศึกษาช่วงวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษานักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง บุคลากรการศึกษาและประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,094 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึงความพอใจต่อรัฐบาลที่เห็นความสำคัญด้านการศึกษาช่วงวิกฤตโควิด-19 และอนาคตของเด็กและเยาวชน พบว่า ที่มากที่สุดคือ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 67.7 รองลงมาคือ ประชาชนทั่วไปร้อยละ 63.3 และผู้ปกครองร้อยละ 62.6 ในขณะที่ บุคลากรทางการศึกษามีน้อยที่สุดคือร้อยละ 45.5 นอกจากนี้ ในเรื่องความพอใจต่อมาตรการช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ พบว่า ที่มากที่สุดคือ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 69.4 รองลงมาคือประชาชนทั่วไปร้อยละ 66.4 ผู้ปกครองร้อยละ 63.2 และน้อยที่สุดคือ บุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 45.5 ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ นักเรียนนักศึกษามีสัดส่วนมากที่สุดคือร้อยละ 87.1 รองลงมาคือ ประชาชนทั่วไปร้อยละ 83.6 ผู้ปกครองร้อยละ 81.6 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 72.7 ต้องการให้รัฐบาลช่วยลดภาระของนักเรียนนักศึกษาเพิ่มเติมอีก ในการแบ่งชำระค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้านการศึกษา นอกจากนี้ นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.9 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 79.6 ผู้ปกครองร้อยละ 77.3 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 63.6 ต้องการให้จังหวัดพื้นที่สีเขียว ทำพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนนักศึกษาได้ พ่อแม่ผู้ปกครองไปทำงานประกอบอาชีพได้ด้วยการควบคุมโรคเข้มสูงสุด

เมื่อถามถึง ความต้องการเร่งด่วนพิเศษช่วยเหลือด้านการศึกษาพบว่า สัดส่วนมากที่สุดคือ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 85.5 รองลงมาคือ ผู้ปกครองร้อยละ 85.4 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 84.5 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 81.8 ต้องการให้มีการฉีดวัคซีนให้นักเรียนนักศึกษา ผู้ปกครอง บุคลากรทางการศึกษา  นอกจากนี้ สัดส่วนที่มากที่สุดเช่นกันคือ นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 88.7 รองลงมาคือ บุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 88.6 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 82.7 และผู้ปกครองร้อยละ 82.4 ต้องการให้รัฐบาลและภาคเอกชนด้านการสื่อสาร ช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาเรื่องอุปกรณ์สื่อสาร ค่าบริการ การเรียนออนไลน์ ซิมการ์ด คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มือถือ และอื่น ๆ และเมื่อสอบถามถึงความต้องการให้ลดค่าหอพัก ค่าผ่อนชำระที่พักอาศัยและอื่น ๆ ให้เด็กนักเรียนนักศึกษา พบว่า สัดส่วนที่สูงสุดได้แก่ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 90.3 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 86.3 ผู้ปกครองร้อยละ 80.9 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 79.5 ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ที่มากที่สุดได้แก่ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 87.1 บุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 77.3 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 70.4 และผู้ปกครองร้อยละ 70.0 ต้องการให้มีจิตแพทย์ ที่ปรึกษาประชาชนระบายความเครียด นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไปมีสัดส่วนสูงที่สุดคือร้อยละ 85.4 รองลงมาคือ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 81.7 ผู้ปกครองร้อยละ 79.7 และบุคลากรทางการศึกษา ร้อยละ 76.7 ระบุ ขอให้ดูแลการศึกษาและคุณภาพชีวิตของเด็กยากจนพิเศษ

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความพอใจต่อการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 61.5 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 60.5 นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 55.7 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 54.5 พอใจมาตรการลดค่าใช้จ่ายที่กำหนด ว่า ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาทให้ลดค่าธรรมเนียม ค่าเล่าเรียนครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 50 นอกจากนี้ ผู้ปกครองร้อยละ 56.1 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 53.5 นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 53.2 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 47.7 พอใจมาตรการที่กำหนดว่า ถ้าอยู่ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาทให้ลดร้อยละ 30 ในขณะที่ความพอใจต่อมาตรการที่กำหนดว่า ตั้งแต่ 100,001 ขึ้นไปให้ลดร้อยละ 10 ผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของความพอใจลดลงกว่าทุกมาตรการ ได้แก่ นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 50.0 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 48.3 ผู้ปกครองร้อยละ 48.2 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 43.2

และเมื่อถามถึงความพอใจต่อมาตรการที่ระบุ การศึกษาเอกชนจ่ายให้หัวละห้าพันบาทนั้น ผู้ปกครองร้อยละ 60.3 พอใจ รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 58.1 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 56.2 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 45.5 อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองร้อยละ 77.0 ประชาชนทั่วไปร้อยละ 66.3 นักเรียนนักศึกษาร้อยละ 64.5 และบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 61.4 ระบุ ให้ลดการเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้เปิดการเรียนการสอน

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการศึกษาชิ้นนี้ชี้ให้เห็นจุดสำคัญในมาตรการเยียวยาแก้ปัญหาด้านการศึกษาของเด็กและเยาวชนหลายจุดได้แก่ ประการแรก เรื่องความพอใจต่อมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายบางรายการ ยังไม่ตรงจุดความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ที่กำหนดตั้งแต่ 100,001 ขึ้นไปให้ลดร้อยละ 10 เพราะสัดส่วนที่พอใจต่ำกว่าครึ่ง มีเพียงนักเรียนนักศึกษาที่พอใจเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น และมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็ได้รับความพึงพอใจต่ำกว่าความคาดหวังที่ต้องการ รวมถึงเรื่องการให้ลดการเก็บค่าธรรมเนียมที่ไม่ได้เปิดการเรียนการสอนที่ควรจะไม่ต้องจ่ายเลยจะตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากกว่าเพราะไม่มีการเปิดการเรียนการสอน เป็นต้น

“ที่น่าสนใจยิ่ง คือ กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา มีความต้องการวัคซีนระดับสูง และเป็นกลุ่มที่เริ่มมีความเครียดจากการไม่ได้ออกนอกบ้าน และพบปะเข้าเรียนในสถาบันการศึกษา  การจัดให้มีจิตแพทย์ให้คำปรึกษากับกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงไม่ควรมองข้าม ขณะเดียวกัน การสนับสนุนเปิดโอกาสและช่องทางให้เด็กและเยาวชน ได้รวมกลุ่มช่วยเหลือสังคมผ่านการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียสร้างสรรค์สิ่งต่างๆและดูแลกันและกัน เป็นเรื่องที่รัฐบาลควรให้ความสนใจ”

และที่น่าพิจารณา คือ “ ความต้องการให้รัฐบาลและภาคเอกชนด้านการสื่อสาร เข้ามาช่วยเหลือเด็กนักเรียนนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษามากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ และขอให้พิจารณาพื้นที่จังหวัดสีเขียว นำร่องการศึกษาที่ปลอดภัย เพื่อให้นักเรียนและนักศึกษาได้กลับมาสู่ระบบการเรียนการสอนปกติ  ทั้งนี้ การพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติในอนาคตให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้ข้อจำกัดในสถานการณ์โรคระบาด  ถือเป็นความท้าทายที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนโดยไม่ให้เสียโอกาส”  ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img