วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightหมอยันโควิดสายพันธุ์“มิว”อยู่ไกลไทย เตือนเฝ้าระวังคนจากต่างประเทศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หมอยันโควิดสายพันธุ์“มิว”อยู่ไกลไทย เตือนเฝ้าระวังคนจากต่างประเทศ

หน.ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยโควิดสายพันธุ์มิว ระบาดไกลจากไทย เอเชียยังไม่พบรายงานการแพร่ระบาด ยืนยันไม่มีอะไรน่าห่วง

เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ให้สัมภาษณ์กรณีองค์การอนามัยโลก (WHO) ยกระดับการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์มิว (Mu) หรือ B.1.621 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง (Variants of Interest :VOI) ว่า สายพันธุ์มิวถูกพบครั้งแรกที่โคลัมเบีย เมื่อ ม.ค.2564 ในฐานข้อมูลกลางโควิดโลก (GISAID) มีการเผยแพร่ข้อมูลที่พบการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น

ศ.ดร.นพ.วสันต์ จันทราทิตย์

และมีการถอดรหัสพันธุกรรมพบการกลายพันธุ์ที่ต่างจากสายพันธ์ดังเดิมอู่ฮั่นค่อนข้างมากถึง 50-60 ตำแหน่ง จึงเป็นปัจจัยทำให้ WHO พิจารณายกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังตัวที่ 5 จากที่ก่อนหน้ามี 4 สายพันธุ์ คือ อีตา (Eta- B.1.525) ระบาดในหลายประเทศ , ไอโอตา (Iota – B.1.526 ) ระบาดในสหรัฐอเมริกา , แคปปา (Kappa- B.1.617.1) ระบาดในอินเดีย และ แลมบ์ดา (Lambda- C.37) ระบาดในเปรู

“สายพันธุ์เหล่านี้ถูกจัดเป็นกลุ่มสีเหลืองที่ความรุนแรงยังต่ำกว่าสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern :VOC) เป็นกลุ่มสีแดงมี 4 ตัวที่ระบาดในขณะนี้ คือ เดลตา , อัลฟา , เบตา และแกมมา สำหรับสายพันธุ์มิวระบาดอยู่ในประเทศที่ไกลจากบ้านเรา และประเทศในแถบเอเชียรวมถึงไทยก็ยังไม่พบรายงานการระบาด ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะยังไม่มีหลักฐานทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่รหัสพันธุกรรมบ่งชี้ว่าอาจจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ การเฝ้าระวังสายพันธุ์มิวสำหรับประเทศไทย ก็คงต้องเข้มงวดระบบการเฝ้าระวังคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศทั้งในสถานกักตัวของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและในโครงการแซนด์บอกซ์ ” ดร.วสันต์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img