วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเปิดคุณสมบัติ“สายพันธุ์มิว” กลายพันธ์ุจาก“เบต้า-แอลฟ่า”หนีภูมิเก่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดคุณสมบัติ“สายพันธุ์มิว” กลายพันธ์ุจาก“เบต้า-แอลฟ่า”หนีภูมิเก่ง

นักไวรัสวิทยา’’เผยสายพันธุ์มิวกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์เบต้า กับ แอลฟ่าและเป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง

เมื่อวันที่ 8 ก.ย.64 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุว่า  ไวรัสสายพันธุ์มิว มีจุดเด่นเรื่องหนีภูมิคุ้มกันครับ เพราะมีการกลายพันธุ์ที่ผสมผสานกันระหว่างสายพันธุ์เบต้า กับ แอลฟ่า

ข้อมูลล่าสุดที่ทีมวิจัยในญี่ปุ่นเปิดเผยออกมา ไวรัสสายพันธุ์นี้อาจจะหนีภูมิได้พอๆ หรือ ดีกว่า เบต้าของแอฟริกาใต้ จากข้อมูลของทีมวิจัยพบว่า มิวหนีภูมิจากซีรั่มของผู้เคยติดเชื้อได้ 12.4 เท่า (เบต้าได้ 8.2 เท่า) และหนีภูมิจากซีรั่มคนฉีดไฟเซอร์ 2 เข็มได้ 7.6 เท่า (เบต้าได้ 6.3 เท่า)

แต่การกระจายตัวของมิวในปัจจุบันยังห่างไกลจากเดลต้ามาก ทำให้ประเด็นเรื่องการแพร่กระจายของมิวในกลุ่มประชากรจึงไม่น่ากังวลมาก แต่จากข้อมูลที่ทางญี่ปุ่นเผยแพร่ออกมาทำให้ผมมีคำถามที่อยากติดตามต่อคือ ในประเทศที่มีภูมิคุ้มกันต่อเดลต้าสูงมากๆอย่างอินเดีย จะมีโอกาสที่มิวจะเข้าไปหนีภูมิ และสร้างปัญหาได้มากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลตรงนี้จะมีความหมายเพราะ ช่วงหนึ่งเดลต้าก็อาจจะลดลงเพราะแพร่กระจายไว ภูมิต่อเดลต้าก็จะมีมาก ไวรัสตัวที่จะมาแทนคือ ตัวที่หนีภูมิจากเดลต้าได้ดี และ มีความแพร่กระจายไวในระดับหนึ่งด้วย (มิวอาจได้คุณสมบัตินี้จากแอลฟ่ามา) ดังนั้น มิวจึงเป็นอีกตัวที่ต้องจับตามองดีๆครับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img