วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSครม.ไฟเขียวร่างพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อ ยันไม่ใช่การนิรโทษ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.ไฟเขียวร่างพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อ ยันไม่ใช่การนิรโทษ

ครม.ไฟเขียว ร่างพรก.แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.โรคติดต่อ ครอบคลุม เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานโควิด-อสม. ยันไม่ใช่การนิรโทษกรรมให้ฝ่ายบริหาร

วันที่ 21 ก.ย.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไข เพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อพ.ศ. 2558 ให้เป็นร่างพ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็น และมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อที่มีการระบาดในกรณีปกติและในกรณีที่มีความรุนแรงให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว และมีการเพิ่มหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเพื่อให้แยกการจัดการ กรณีโรคติดต่อในสถานการณ์ปกติออกจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง

“ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดร้ายแรง ก็ไม่ต้องออกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีสาระหลักที่เน้นไปในเรื่องของความมั่นคง ถ้าในกรณีที่มีโรคติดต่อร้ายแรงเช่นนี้ก็จะใช้พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.โรคติดต่อแทน จะได้มีความเหมาะสมในการบริหารจัดการมากขึ้น และประเด็นที่สำคัญที่มีการจับจ้องกันอยู่ว่า สาระของพ.ร.ก.ฉบับนี้จะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับฝ่ายบริหารหรือไม่ ตามที่มีการเขียนถึงในโลกออนไลน์ ก็ต้องขอย้ำว่าสาระของพ.ร.ก.ฉบับนี้ต้องการที่จะคุ้มครองดูแลบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฎิบัติหน้าที่โดยสุจริต”น.ส.รัชดา กล่าว


น.ส.รัชดา กล่าวว่า สาระกำหนดว่า กำหนดให้ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ ให้แก่เจ้าพนักงานคุ้มครอง พนักงานควบคุมโรคติดต่อกและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใดซึ่งได้รับมอบหมายหรือได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ปฎิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เช่นเดียวกับในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีเนื้อหาสาระใดที่เป็นการกล่าวถึงการที่จะเข้าไปคุ้มครองเจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายหรือฝ่ายบริหาร เพราะฉะนั้นโดยสาระ ขอย้ำว่าเป็นการดูแลเจ้าหน้าที่ ที่ปฎิบัติหน้าที่โดยสุจริตซึ่งเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับประโยชน์จากร่างพ.ร.ก.ฉบับนี้จะครอบคลุม เช่น เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ช่วย อสม. รวมถึงพนักงานกู้ภัย เจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติในโรงพยาบาลสนาม ที่ปฎิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img