วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเปิดหลักเกณฑ์นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าไทย 1 พ.ย.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดหลักเกณฑ์นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าไทย 1 พ.ย.นี้

“อนุทิน” แจง 3 ขั้นตอนเข้าไทย ต้องฉีดวัคซีนครบ ตรวจเชื้อก่อนเดินทาง เข้าไทยวันแรกตรวจ RT-PCR พัก ASQ 1 คืนรอผลออก เป็นลบเดินทางได้ทุกที่ รายงานตัวผ่านแอพฯ

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 64 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ว่า ตามที่พ.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงกับประชาชนว่าจะมีการเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย. นั้น ถือเป็นนโยบาย ตนได้สั่งการมายังปลัดกระทรวงสาธรณสุข และอธิบดีกรมควบคุมโรคให้หามาตรการเพื่อให้นโยบายเกิดผลสัมฤทธิ์ให้ได้ ทั้งนี้ในส่วนของรายชื่อประเทศที่จะมีการอนุญาตนั้น ขอให้ศบค.พิจารณาก่อน เบื้องต้น ตนแจ้งกับกรมควบคุมโคแล้วว่าไม่ควรจำกัดแค่ 10 ประเทศ เพราะเราอยู่กันอย่างเป็นประชาคม เป็นมาตรฐานเดียว ดังนั้นจะมีการพิจารณาอีกครั้งใน ศบค.

นายอนุทิน กล่าวว่า เบื้องต้นผู้ที่จะเดินทางเข้ามาเบื้องต้นมีข้อกำหนดว่า 1. ต้องมีการฉีดวัคซีนที่เป็นมาตรฐาน ครบ 2 เข็ม ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลกรับรองเท่านั้น เพราหลายตัวที่เป็นมาตรฐานแต่องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้รับรองก็มี เช่น สปุตนิค5 ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติก็ให้การยอมรับ 

2. มีการตรวจหาเชื้อก่อนเดินทาง มีใบรับรอง Fit to Fly  3. เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยแล้วต้องมีการตรวจหาเชื้อในวันแรก ด้วยวิธี RT-PCR เช่น และพักที่พื้นที่นั้น 1 คืน เพื่อรอให้ผลการตรวจเชื้ออกก่อน เช่น เมื่อนั่งเครื่องบินมาลงที่สุวรรณภูมิ ก็ต้องตรวจ RT-PCR และให้พักที่กทม. 1 คืนระหว่างรอผลการตรวจ เบื้องต้นเป็นอัลเทอเนทีฟ สเต็จควอรันทีน เมื่อผลตรวจเป็นลบจึงเดินทางไปยังพื้นที่อื่นๆ ได้ (Free to go) เพราะถือว่ามีความปลอดภัย แต่ระหว่างนี้อาจจะมีการรายงานผ่านแอพพลิเคชั่น ประเทศอื่นก็เป็นแบบนี้ 

“เมื่อคืนนี้ผมได้คุยไลน์กับท่านทูตสิงคโปร์เมื่อคืน แจ้งว่าประเทศไทยจะมีการเปิดประเทศ ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศที่เราจะเปิดให้มีการเดินทางได้เสรี ภายใต้กฎเกณฑ์ ซึ่งทางเขาก็น่าที่จะพิจารณาให้คนไทยเดินทางไปสิงคโปร์ได้ด้วย และอย่างวันนี้ (12 ต.ค.) ก็มีการคุยกับสวิสเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกาเรื่องนี้ด้วย น่าจะเป็นแนวทางทวิภาคี และจะมีการคุยเป็นโซนๆ และยกเว้นประเทศที่ยังมีปัญหาการติดเชื้อ” นายอนุทิน กล่าว และว่า สำหรับจังหวัดนำร่องท่องเที่ยว บางจังหวัดที่ยอดการฉีดวัควีนยังไม่ครอบคลุม 50% นั้นก็มีการจัดส่งมากขึ้น และเร่งฉีด ทั้งนี้ก็มีการนำความเสี่ยงในการติดเชื้อของประชาชนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาด้วย

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ที่จริงประเทศไทยมีการเปิดประเทศมาพอสมควร เช่น ที่ภูเก็ตแซนบ็อกซ์ ซึ่งจากการติดตามนักท่องเที่ยวที่เข้ามานั้นมีการติดเชื้อน้อยมาก ที่เห็นว่าในพื้นที่มีการติดเชื้อนั้นเป็นการติดเชื้อในแรงงานที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้นกรณีที่ท่านนายกฯ ระบุว่า 1 พ.ย. จะเปิดมากขึ้นนั้นก็สอดคล้องกับหลายประเทศที่เริ่มประกาศโดย ทั้งนี้ โดยพื้นฐาน คือ 1. เตรียมสถานที่ คือประเทศไทยให้พร้อม 2. เตรียมคนที่จะเข้ามาให้พร้อม คือมีการฉีดวัคซีนครบ มีการตรวจเชื้อก่อนเดินทาง และเมื่อเข้ามา และ 3. เตรียมคนในประเทศไทยให้พร้อม คือการฉีดวัคซีนมีความครอบคลุม คาดว่าสิ้นเดือน ต.ค.จะฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มที่ 50% ส่วนเข็ม 2 ก็ฉีดใกล้ๆ 40% เมื่อสิ้นเดือน พ.ย.-ธ.ค.น่าจะเกินเป้าหมาย 100 ล้านโดส 

“แน่นอนว่าเมื่อมีคนเข้ามาในประเทศมากขึ้น มีการทำกิจกรรมมากขึ้น ย่อมมีคนติดเชื้อมากขึ้นด้วย แต่ที่เราสามารถทำและมั่นใจว่าคือการทำให้คนป่วย คนเสียชีวิตในประเทศไทยน้อยที่สุด เพื่อให้ประบวนการทางสังคม เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นไปได้อย่างปกติมากทีสี่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” นพ.โอภาส กล่าว

 

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การพิจารณาประเทศที่จะเข้ามานั้นจะดูหลายอย่าง รวมถึงตัวอย่างของหลายๆ ประเทศ ซึ่งตอนนี้สิงคโปร์  ยุโรป อเมริกาเข้าประกาศของเขา ทางไทยก็จะมีผู้เชี่ยวชาญพิจารณา และเข้าที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุข ที่ประชุมศปก.สธ. และเข้า ศบค. เพื่อพิจารณาต่อไป แล้วจะมีเวลาเตรียมตัว เตรียมพร้อมประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ระบบต่างๆ รันต่อไปได้เป็นปกติ ทั้งนี้การเข้ามาของนักท่องเที่ยวไม่ได้กำหนดจำนวนว่าแต่ละวันต้องไม่เกินจำนวนเท่าไหร่ อย่างภูเก็ตแซนบ็อกซ์ ที่เข้ามาเยอะเราก็ต้องเตรียมความพร้อม

ส่วนแล็ปตรวจ RT-PCR นั้น เรามีระบบการขนส่งอยู่ อย่างแล็ปในกทม. รองรับได้เยอะ ไม่ห่วง การอยู่ 1 คืนน่าจะตรวจจับได้ แต่หากเข้ามามากกว่านี้ก็จะมีการปรับมาตรการต่อไปแล้วแต่สถานการณ์ ทั้งนี้มีการประเมินสถานการณ์ตลอดเวลา สำหรับค่าใช้จ่ายทุกอย่างทั้งตรวจแล็ป และที่พักคอยนั้นผู้เดินทางเข้าประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบเอง แต่ทางกระทรวงรับนโยบายมาว่าพยายามทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลงที่สุด สมเหตุผลที่สุด.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img